วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

กรุงธนบุรี

หลังจากได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้แล้ว พระเจ้าตากสินทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาผลาญเสียหายมาก ยากที่จะฟื้นฟูให้เหมือนเดิม พระองค์จึงย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่กรุงธนบุรี แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์
ทรงพระนามว่า “ พระบรมราชาธิราชที่ 4 " (แต่ประชาชนนิยมเรียกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ครองกรุง
ธนบุรีอยู่ 15 ปี นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ปกครองกรุงธนบุรี การตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
กรุงศรีอยุธยาชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถจะบูรณะปฏิสังขรณืให้ดีเหมือนเดิมได้
กำลังรี้พลของพระองค์มีน้อยจึงไม่สามารถรักษากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้
ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย
ข้าศึกรู้เส้นทางการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาดี
ส่วนสาเหตุที่พระเจ้าตากสินทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงเนื่องจากทำเลที่ตั้งกกรุงธนบุรีอยู่ใกล้ทะเล ถ้าเกิดมีศึกมาแล้วตั้งรับไม่ไหวก็สามารถหลบหนี ไปตั้งมั่นทางเรือได้กรุงธนบุรีเป็นเมืองเล็ก จึงเหมาะกับกำลังคนที่มีอยู่พอจะรักษาเมืองได้กรุงธนบุรีมีป้อมปราการที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาหลงเหลืออยู่ ซึ่งพอจะใช้เป็นเครื่องป้องกันเมืองได้ในระยะแรก
ด้านการปกครอง หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 บ้านเมืองอยู่ในสภาพไม่เรียบร้อย มีการปล้นสะดมกันบ่อย ผู้คนจึงหาผู้คุ้มครองโดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเรียกว่าชุมนุม ชุมนุมใหญ่ ๆ ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุนนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมเจ้าพิมายชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เป็นต้น สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงใช้เวลาภายใน 3 ปี ยกกองทัพไปปราบชุมนุมต่าง ๆ ที่ตั้งตนเป็นอิสระจนหมดสิ้นสำหรับระเบียบการปกครองนั้น พระองค์ทรงยืดถือและปฏิบัติตามระเบียบการปกครองแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายตามทที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางระเบียบไว้ แต่รัดกุมและมีความเด็ดขาดกว่า คนไทยในสมัยนั้นจึงนิยมรับราชการทหาร เพราะถ้าผู้ใดมีความดีความชอบ ก็จะได้รับการปูนบำเหน็จอย่างรวดเร็ว
ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสิ นมหาราชขึ้นครองราชสมบัตินั้นบ้านเมืองดำลังประสบความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด เกิดการขาดแคลนข้าวปลาอาหาร และเกิดความอดอยาก ยากแค้น จึงมีการปล้นสะดมแย่งวิงอาหาร มิหนำซ้ำยังเกิดภัยธรรมชาติขึ้นอีก ทำให้ภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้ายอยู่แล้วกลับทรุดหนักลงไปอีกถึงกับมีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ ชื้อข้าวสารมาแจกจ่ายแก่ราษฎรหรือขายในราคาถูก พร้อมกับมีการส่งเสริมให้มีการทำนาปีละ2 ครั้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอ
ในตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื่องจากพระองค์ทรงตรากตรำ ทำงานหนักในการสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชาติบ้านเมือง พระราชพงศาวดารฉบับต่าง ๆ ได้ บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระสติฟั่นเฟือน ทำให้บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสายและได้เกิดกบฏขึ้นที่กรุงเก่า พวกกบฏได้ทำการปล้นจวนพระยาอินทรอภัย ผู้รักษากรุงเก่าจนต้องหลบหนีมายังกรุงะนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้พระยาสรรค์ไปสืบสวนเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้าด้วยกับพวกกบฏ และคุมกำลังมาตีกรุงธนบุรี แล้วจับตัวสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาคุมขังเอาไว้ การจราจลในกรุงธนบุรี ทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกต้องรีบยกทัพกลับจากเขมร เพื่อเข้าแก้ไขสถานการณ์ในกรุงธนบุรี และจับกุมผู้ก่อการกบฏมาลงโทษรวมทั่งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณา ความที่มีผู้ฟ้องร้องกล่าวโทษ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในฐานะที่ทรงเป็นต้นเหตุแห่งความยุ่งยากใน กรุงธนบุรี และมีความเห็นให้สำเร็จโทษพระองค์เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีกต่อไป สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงถูกสำเร็จโทษและเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2325 พระชนมายุได้ 45 พรรษา

กรุงรัตนโกสินทร์

หลังจากปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ในปี พ.ศ. 2325 แล้ว สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงใช้พระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก" และได้ย้ายราชธานีจาก กรุงธนบุรีข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งตรงข้าม และตั้งชื่อราชธานีใหม่นี้ว่า "กรุงเทพมหานคร" พร้อมๆกับการสถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้นมา
พระองค์ทรงฟื้นฟูขวัญกำลังใจให้กับประชาชนที่ยังหวาดผวากับศึกพม่าเมื่อครั้ง สงคราวเสียกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งตลอดสมัยกรุงธนบุรี ด้วยการนำแบบแผนต่างๆของ ราชสำนักอยุยามาใช้ รวมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญมาไว้ที่กรุงเทพฯด้วย วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว เป็นแบบอย่างชัดเจนที่พระองค์ ทรงระดมช่างฝีมือซึ่งหลงเหลืออยู่ในเวลานั้นมาสร้างพระราชวังและพระอาราม ที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ เสมือนยกเอายุครุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยามาไว้ยังกรุงเทพฯ
ในช่วงก่อร่างสร้างเมืองนี้สยามยังต้องผจญกับศึกสงครามรอบบ้านอยู่เสมอ รวมทั้งสงครามครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การรบระหว่างสยามกับพม่าด้วย นั่นคือศึกที่เรียกว่า"สงครามเก้าทัพ" ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าประดุง แห่งหงสาวดี กองทัพสยามสามารถขับไล่ทัพพม่าออกไปได้ในที่สุด หลังสงครามเก้าทัพพม่าต้องเผชิญหน้ากับประเทศนักล่าอาณานิคมอย่างอังกฤษ ทำให้สยามว่างเว้นศึกสงครามใหญ่ไปนาน
รัชกาลที่1 มีพระราชดำริให้ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมครั้งใหญ่ รวมทั้งการรวบรวทตำรับตำราจากหัวเมืองต่างๆ ที่รอดพ้นจากการถูกพม่าเผาเมื่อ ปี พ.ศ.2310 มาเก็บไว้ที่กรุงเทพฯ ในสมัยของพระองค์ได้มีการนำธรรมเนียมปฏิบัติของราชสำนักอยุธยามาใช้อย่างหนึ่งคือ มีการแต่งตั้งตำแหน่งอุปราชเสมืองเป็นกษัตริย์องค์ที่2 อุปราชองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์คือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งประทับอยู่ที่วังหน้า คนสยามจึงมักเรียกตำแหน่งอุปราชว่า "วังหน้า"
สำหรับพระราชวังหน้านั้นปัจจุบันคือบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โรงละครแห่งชาติ และวิทยาลัยนาฏศิลป์นั่นเอง รวมทั้งพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของท้องสนามหลวงก็เคยเป็นอาณาบริเวณของ วังหน้ามาก่อน เวลามีการก่อสร้างต่างๆบริเวณนี้เมื่อขุดลงไปในดินจึงมักพบ โบราณวัตถุหลายอย่าง โดยเฉพาะปืนใหญ่แบบโบราณ มีการขุดได้บริเวณนี้ หลายกระบอก
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. 2352-2367) พระราชโอรสองค์ โตได้ครองราชสมบัติสืบมาเป็นรัชกาลที่2 พระองค์ทรงใฝ่พระทัยในศิลปวัฒนธรรมมาก ทั้งทางด้านวิจิตรศิลป์ และวรรณคดี พระองค์ได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ผู้เป็นอัครศิลปิน ทรงสร้างและบูรณะวัดวาอารามจำนานมาก ที่สำคัญที่สุดคือโปรดเกล้าฯให้บูรณะ วัดสลักใกล้พระราชวังเดิมฝั่งธนบุรี จนยิ่งใหญ่สวยสง่ากลายเป็นวักประจำรัชกาลของพระองค์และพระราชทานนามว่า "วัดอรุณราชวรารามมหาวิหาร" ความเป็นศิลปินเอกของพระองค์เห็นได้จากการที่พระองค์ทรงแกะสลักบานประตู หน้าวัดสุทัศน์ฯด้วยพระองค์เอง ผลงานอันวิจิตรชิ้นนี้ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพฯ นอกจากฝีพระหัตถ์เชิงช่างแล้ว รัชกาลที่2ยังทรงพรัอัจฉริยภาพในทางกวีด้วย พระราชนิพนธ์ชิ้นสำคัญของพระองค์ บทละครเรื่อง อิเหนา และ รามเกียรติ์
นอกจากทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เองแล้ว ยังได้ชื่อว่าเป็นองค์อุปถัมภ์ บรรดาศิลปินและกวีด้วย ยุคนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นยุคสมัยที่กวีรุ่งเรืองที่สุด กวีเอกที่ปรากฏในรัชกาลของพระองค์คือ พระศรีสุนทรโวหาร(ภู่) ที่คนไทย ทั่วๆไปเรียกว่า "สุนทรภู่"
ในด้านการต่างประเทศ พระองค์ทรงได้เริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก ใหม่หลังจากหยุดชะงักไปตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีพระบรมราชานุญาตให้โปรตุเกตุเข้ามาตั้งสถานฑูตได้เป็นชาติแรก
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ครอง ครองราชสมบัติต่อจากพระบิดา ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367-2394) ทรงมีความเชี่ยวชาญในการค้า ขายกับต่างประเทศมาก โดยเฉพาะกับประเทศจีน ในรัฐสมัยของพระ องค์ ราชสำนักสยามและจีนมีสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้น สยามแต่ง สำเภาเดินทางไปค้าขายกับจีนปีละมากลำ ยุคสมัยของพระองค์นับ เป็นยุคทองของการค้าขาย ทรงทำให้เศรษฐกิจของประเทศมั่งคั่งขึ้น เงินทองเต็มท้องพระคลัง และทรงเก็บพระราชทรัพย์บางส่วนไว้ใน ถุง้า แดง ซุกซ่อนไว้ตามบัลลังก์ ซึ่งในเวลาต่อมาทรัพย์ในถุงแดงนี้มีส่วน ในการกู้ชาติสยาม
รัชกาลที่ 3 เป็นกษัตริย์ผู้ทรงเคร่งครัดในศาสนาพุทธ ชาว ตะวันตกมักมองว่าพระองค์ ตึงและต่อต้าน ศาสนาอื่น แม้กระนั้นก็ ทรงอนุญาตให้มิชชั่นนารีจากอเมริกานำการแพทย์แผนตะวันตกเข้า มาเผยแพร่ได้
ความจริงในสมัยรัชกาลที่ 3 ประเทศสยามต้องรับบรรดาทูตต่างๆจากชาติตะวันตกที่เข้ามาทำ สัญญาทางการค้าบ้างแล้ว โดยเฉพาะการมาถึงของ เซอร์จอห์น เบาริ่ ง จากอังกฤษที่เข้ามาทำ สัญญาเบาริ่ง อันส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อง้า ประเทศสยามในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามผลจากการเปิดประเทศมา ปรากฏอย่างเด่นชัดในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงสนพระทัยในศิลปวิทยาการของตะวันตกมาก พระ องค์ทรงศึกษาวิชาการต่างๆ อย่างแตกฉาน ทรงเข้าใจภาษาบาลีเป็น อย่างดีตั้งแต่ครั้งที่ออกผนวชเป็นเวลาถึง 27 พรรษาก่อนทรงขึ้นครอง ราชย์ ส่วนภาษาอังกฤษนั้นทรงได้เรียนกับมิชชันนารีจนสามารถตรัส ได้เป็นอย่างดี นกจากนี้ยังมีความรู้ในวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆโดย เฉพาะดาราศาสตร์ ในยุคสมัยของพระองค์ขนบธรรมเนียมต่างๆ ในราชสำนักได้ เปลี่ยนไปมาก เช่น การแต่งกายเข้าเฝ้าของขุนนาง ทรงให้สวมเสื้อผ้า แบบตะวันตกแทนที่จะเปลือยท่อนบนเช่นสมัยก่อน หรือยกเลิก ประเพณีหมอบคลาน เป็นต้น
ส่วนในด้านการศาสนานั้นทรงตั้งนิกาย นิกายธรรมยุติ ขึ้นมา ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการรวมอำนาจของคณธสงฆ์ซึ่งเคยกระจัดกระจาย ทั่วประเทศให้เขามาอยู่ที่ส่วนกลาง พระองค์นับว่าทรงเป็นกษัตริย์ผู้มี วิสัยทัศน์ยาวไกล และทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิล่าอาณานิคมของ ประเทศตะวันตกซึ่งในเวลานั้นเข้ายึดครองประเทศเพื่อนบ้านของ สยามจนหมดสิ้นแล้ว พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ความเข้มแข็งแบบ ตะวันออกของสยามไม่สามารถช่วยให้ประเทศรอดพ้นจากการตกเป็น อาณานิคมได้ จึงทรงเน้นให้ประเทศสยามพัฒนาให้ทันสมัยเพื่อลด ความขัดแย้งกับชาติตวันตก
ยุคสมัยนี้กล่าวได้ว่าประเทศสยามเริ่มหันทิศทางไปสู่ตะวัน ตกแทนที่จะแข็งขืนอย่างประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งถึงที่สุดแล้วก็ไม่อาจสู้ ความได้เปรยบทางเทคโนโลยีของชาติตะวันตกได้ ในราชสำนักทรง จ้างครูฝรั่งมาสอนภาษาให้แก่พระราชโอรสและพระราชะดา ส่วนภาย นอกมีชาวต่างประเทศจำนวนมากที่มาประกอบกิจการในมืองสยาม สมัยนี้มีหนังสือพิมพ์ภาษาไทยออกมาเป็นครั้งแรก นั่นคือ บางกอกรี คอดเดอร์ ของหมอบัดเลย
การทำสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศตะวันตกทำให้ สยามต้องสูญเสีย สิทธิสภาพนอกอาณาเขต อังกฤษเป็นชาติแรกๆที่ ได้ประโยชน์สยามสามารถเก็บภาษีจากสินค้าของพ่อค้าอังกฤษได้ เพียงร้อยละ 3 และอังกฤษสามารถนำเข้าฝิ่นจากอินเดียได้โดยเสรี รวมทั้งสัญญาระบุให้สยามยกเบิกการผูกขาดการค้าข้าวโดยราช สำนัก ทำให้ข้าวกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญของสยามมานับศตวรรษ ต่อมาสยามก็ต้องทำสัญญาเช่นนี้กับชาติตะวันตกอื่นๆอีก ความสนใจในวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์เป็น เหตุให้พระองค์ต้องสวรรคต ในปี พ.ศ. 2411 ทรงคำนวณได้ว่าจะเกิด สุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเสด็จฯไปดู พร้อมกับเชิญคณะทูตานุทูตตามเสด็จไปชมด้วย แม้จะเป็นเรื่องที่ทำ ให้พระองค์ได้รับการยกย่องจากชาวตะวันตกมาก เพราะในเวลานั้น แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ชาติตะวันตกก็มีเพียงไม่กี่คนที่สามารถคำนวณ การกิดสุรุยุปราคาได้อย่างแม่นยำ แต่กการเสด็จฯไปหว้ากอครั้งนั้น เป็นเหตุให้พระองค์ประชวรด้วยไข้มาลาเรีย และเสด็จสวรรคตในอีก สองสัปดาห์ต่อมา
เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชโอรส ของรัชกาลที่ 4 ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ด้วยพระชนมายุเพียง 15 ชันษา พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ใน ยุคสมัยที่บ้านเมืองจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง และทรงต้องเผชิญกับการ กดดันจากหลายด้าน ทั้งฐานอำนาจของกลุ่มวังหน้าและฝ่ายขุนนางที่ นำโดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระ องค์ ในขณะที่แรงกดดันจากประเทศนักล่าอาณานิคม ก็มิได้ลดละ แต่ โชคดีที่พระองค์รวมทั้งพระประยูรญาติได้รับการปูพื้นฐานมาเป็น อย่างดี ในสมัยของพระองค์บรรดาขุนนางต่างพระเนตรพระกรรณที่ พระองค์มีพระบรมราชโองการ อยู่เสมอก็คือพระอนุชาของพระองค์ เป็นส่วนใหญ่ ขุนนางซึ่งมีบทบาทอย่างมากในสมัยนี้ก็คือ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ กรมพระยาเทววงศ์วโรปกรณ์ กรมหลวงประจักษ์ ศิลปคม เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นพระอนุชาของพระองค์ทั้งสิ้น ในยุคสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลง ครั้งสำคัญในประเทศสยาม พระองค์ถือเป็นกษัตริย์ที่ทรงปฏิรูปสังคมครั้งใหญ่ ทรงยกเลิกระบบ ทาสและการเกณฑ์แรงงานไพร่ หันมาใช้ระบบเก็บส่วนภาษีแทน ทรง ปฏิรูประบบการปกครองส่วนภูมิภาค ด้วยการยกเลิกระบบประเทศราช และเจ้าครองนครเปลี่ยนผู้บริหารเป็นสมุหเทศาภิบาลซึ่งเป็นข้าราช การที่ส่งไปจากส่วนกลาง การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้ประเทศสยาม เป็นปึกแผ่นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนนับแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ การเตรียมพร้อมของพระองค์ต่อการคุกคามโดยประเทศ ตะวันตกนั้น ทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษา ณ ดินแดนยุโรป โดยเฉพาะ ในประเทศรัสเซียและปรัสเซีย ทั้งเพื่อเตรียมคนไว้เพื่ออนาคต และเป็น การผูกสัมพันธ์กับราชสำนักยุโรป เพื่อถ่วงดุลอำนาจของอังกฤษและ ฝรั่งเศสที่ในเวลานั้นกำลังล่าอาณานิคมในภูมิภาคเอเซียอยู่
ในปี พ.ศ. 2435 ทรงตั้งกระทรวงเพิ่มขึ้นจาก 4 เป็น 12 กระทรวง บางกระทรวงก็ทรงแต่งตั้งพระอนุชาเป็นเสนาบดี บาง กระทรวงที่ต้องติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศก็ทรงจ้างผู้เชี่ยวชาญชาว ตะวันตกเป็นเสนาบดี รัชสมัยของพระองค์มีชาวตะวันตกเข้ามารับใช้ ประเทศสยามจำนวนมาก หลายท่านยังคงมีลูกหลานสืบสกุลในเมือง ไทยจนปัจจุบัน ครั้นพระราชโอรสของพระองค์สำเร็จการศึกษาจากยุ โรปแล้วก็ได้เข้ามาเป็นกำลังในการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารครั้ง ใหญ่ โดยเฉพาะเป็นกำลังในการสร้างกองทัพบกและกองทัพเรือให้มี ความทันสมัยอย่างตะวันตก
ในสมัยนี้ประเทศสยามต้องเผชิญกับการบีบคั้นโดยชาติ มหาอำนาจอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส ทำให้สยามจำต้องเสียดินแดน ให้แก่มหาอำนาจทั้งสองไปเป็นจำนวนมากเพื่อแลกกกับเอกราชของประเทศ
เมื่อฝรั่งเศสเข้าครอบครองเวียดนามในปี พ.ศ. 2426 และ อังกฤษยึดครองมลายูและพม่าส่วนบนได้ในปี พ.ศ. 2429 ทำให้สยาม ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก ต่อมาฝรั่งเศสส่งเรือรบมาปิดล้อมอ่าว ไทย ทำให้ต้องยอมเสียลาวและกัมพูชาให้ฝรั่งเศสไป ขณะเดียวกันก็ ต้องยำดินแดนทางภาคใต้ได้แก่ ปะลิส กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ดิน แดน ติดพม่าได้แก่ มะริด ทวาย ตะนาวศรี และดินแดนหัวเมืองเงี้ยว ในภาคเหนือให้แก่ประเทศอังกฤษ รวมแล้วสยามต้องเสียดินแดนให้ มหาอำนาจทั้งสองถึง 120,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณครึ่ง หนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน
นอกจากต้องเสียดินแดนแล้วยังต้องจ่ายค่าปรับให้กับ ประเทศเหล่านั้นด้วย จึงต้องใช้เงินใน ถุงแดง ซึ่งรัชกาลที่ 3 เก็บซุก ซ่อนไว้นำมาจ่ายให้มหาอำนาจเหล่านั้น รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสยุโรปถึงสองครั้งในปี พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 เพื่อเป็นการผูกสัมพันธไมตรีกับราชสำนักต่างๆในยุ โรปให้แน่นแฟ้นขึ้น
ในรัชสมัยของพระองค์กล่าวได้ว่าสยามประเทศมีการพัฒนา อย่างก้าวกระโดด แม้จะต้องเสียเงินทองมากมายให้แก่มหาอำนาจ แต่เศรษฐกิจของสยามก็เฟื่องฟูโดยเฉพาะหากเทียบกับประเทศเอเซีย อื่นๆ หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต ปวงชนชาวไทยจึงพร้อมใจกัน ถวายพระสมัญนามแด่พระองค์ว่า พระปิยมหาราช ซึ่งหมายถึง กษัตริย์ทรงเป็นที่รักยิ่ง
เจ้ามหาวชิราวุธ โอรสของรัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชสมบัติต่อมา ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453-2468) พระองค์ ทรงจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ดในประเทศอังกฤษ นโยบายปฏิรูปแบบตะวันตกส่งผลต่อสังคมไทยอย่างมหาศาล การเปลี่ยนแปลงอย่างแรกในปี พ.ศ. 2456 คือคนไทยต้องมี นามสกุลใช้ ในอดีตคนไทยใช้เพียงชื่อตัวไม่มีนามสกุล ซึ่งพระองค์มี พระราชดำริว่าไม่ทันสมัยอย่างชาวตะวันตก พระองค์จึงทรงพระราช ทานนามสกุลให้แก่ขุนนาและคหบดีกว่าร้อยสกุล รวมถึงการถวาย พระนามต้นแห่งกษัตริย์ในราชวงศ์จักรีว่า รามา ก็เกิดขึ้นในสมัยนี้ พระองค์ยังทรงยกเลิกธรรมเนียมให้ผู้หญิงไทยไว้ผมสั้นทรง ดอกกระมอย่างโบราณ และหันมาไว้ผมยาวแบบฝรั่ง และให้นุ่งผ้าถุง แทนโจงกระเบน ทรงจัดให้มีการศึกษาภาคบังคับทั่วประเทศ มีการตั้ง จุฬาลงกรณ์ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ ในช่วง ท้ายของสงครามพระองค์ได้ส่งทหารไทยไปร่วมรบ ณ สมรภูมิยุโรป ด้วย นั่นทำให้ประเทศสยามได้รับการต้อนรับให้เข้าร่วมสันนิบาติชาติ ภายหลังสงคราม และภายหลังจากทหารอาสาชาวไทยกลับจาก สงคราม พระองค์ทรงเปลี่ยนธงชาติจากธงช้างเผือกบนพื้นแดงมาเป็น ธงไตรรงค์แบบปัจจุบันแทน
ในรัชสมัยนี้มีการแต่งตั้งเจ้านายในราชวงศ์และขุนนางใกล้ชิด ให้เป็นคณะรัฐมนตรีร่วมปรึกษาใกล้ชิดกับพระองค์ในการบริหาร ประเทศ และมีการตั้ง กองเสือป่า ขึ้นมาโดยมีพระองค์เองเป็นผู้ บัญชาการ กองเสือป่าที่ตั้งขึ้นมีลักษณะซ้ำซ้อนกับกองทัพ และหลาย ครั้งเสือป่าของพระองค์มีเรื่องมีราวกับทหารในกองทัพ ปมขัดแย้งเริ่ม เกิดขึ้นในหมู่ทหารจำนวนหนึ่ง กระทั่งประทุเป็นการก่อกบฎใน ร.ศ. 130 ที่เรียกว่า กบฏนายสิบ
รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดการละครมาก ในราชสำนักสมัยนั้นมีการ เล่นละครกันอยู่เป็นประจำ และไม่ว่าจะเสด็จแปรพระราชฐานไปที่ใด ก็มักจะนำคณะละครของพระองค์โดยเสด็จไปด้วยเสมอ อย่างไรก็ตามพระองค์ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่โปรดการ สร้างถาวรวัตถุ ได้ทรงสร้างพระตำหนักและพระราชวังไว้ตามจังหวัด ต่างๆเป็นจำนวนมาก อาทิ พระตำหนักดุสินธานี ที่กรุงเทพฯ พระราช วังสนามจันทร์ ที่นครปฐม พระราชวังบ้านปืน และพระราชนิเวศน์ มฤคทายวัน ที่เพชรบุรี เป็นต้น ผลจากการสร้างสิ่งเหล่านี้ทำให้เงินใน ท้องพระคลังที่สะสมมาสมัยรัชกาลที่ 5 ร่อยหรอลง จนเกิดปัญหาการ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงปลายรัชกาล รัชกาลที่ 6 ทรงอภิเษกสมรสเมื่อพระชนม์มายุมากแล้ว พระ ราชธิดาพระองค์เดียวประสูติก่อนวันเสด็จสวรรคตของพระองค์เพียง แค่วันเดียวในปี พ.ศ. 2468 พระอนุชาของพระองค์คือ เจ้าประชาธิปก ทรงขึ้นคอรงราชย์ต่อ
หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ว่าจะทรง สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอีตันของอังกฤษ แต่ดูเหมือนรัชกาลที่ 7 จะโปรดการทหารมากกว่า พระองค์ทรงเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและ การบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ รัชกาลที่ 7 ทรงมีความห่วงใยพสก นิกรอย่างมาก ในรัชสมัยของพระองค์ สยามได้นำระบบไปรษณีย์และ โรเลขมาใช้ เริ่มมีการสร้างสนามบินขึ้นที่ทุ่งดอนเมือง น่าเสียดายที่ช่วงเวลานั้นไม่เปิดโอกาสให้พระองค์ได้ทรงทำ ตามแนวคิดในการบริหารประเทศของพระองค์ เพราะทรงครองราชย์ ในสมัยที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังตกต่ำภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ข้าวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศราคาตกต่ำอย่างมาก ภาวะเงิน เฟ้อที่ระบาทดไปทั่วโลกส่งผลกระทบต่อรัฐบาลของพระองค์อย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ประกอบกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเนื่องจากการใช้จ่าย อย่างฟุ่มเฟือยในรัชกาลก่อนหน้า แม้จะมีการปรับลดคาเงินบาทลง และนำเงินบาทในผูกอัตราแลกเปลี่ยนกับเงินปอนด์ของอังกฤษ แต่ก็ ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ วิกฤติการณ์เหล่านี้ส่งผลให้พระองค์ทรง เลือกที่จะตัดงบประมาณของราชสำนักลง ลดเงินเดือนข้าราชการ และมีการดุลข้าราชการจำนวนหนึ่ง เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ข้าราชการ จำนวนหนึ่งเกิดความไม่พอใจ โดยเฉพาะคนหนุ่มที่เพิ่งสำเร็จการ ศึกษามาจากประเทศตะวันตกโดยเฉพาะในยุโรป
ในเวลานั้นกระแสการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบอำนาจใหม่ซึ่ง เรียกว่า ประชาธิปไตย ได้เริ่มขึ้น โดยเริ่มจากปัญญาชนรุ่นใหม่ซึ่ง เป็นสามัญชนที่ได้รับการศึกษามาจากยุโรป โดยเฉพาะจากอังกฤษ และฝรั่งเศส ในขณะที่พวกราชวงศ์มักนิยมไปศึกษาที่รัสเซียซึ่งยังปก ครองในระบบสมบูรณษญาสิทธิราช คนหนุ่มเหล่านั้นได้เห็นระบอบการปกครองแบบใหม่ และชื่น ชมในสิทธิความเท่าเทียมกันของประชาชน ขณะที่รัชกาลที่ 7 ทรง ตระหนักดีว่าประชาธิปไตยควรเริ่มใช้เมื่อประชาชนมีความพร้อมก่อน และพระองค์ทรงเห็นว่าในเวลานั้นคนไทยยังไม่พร้อมสำหรับระบบ ใหม่ พระองค์เคยมีพระราชปรารภว่า คนไทยควรมีจิตสำนึกทางการ เมืองเสียก่อน จึงค่อยนำระบบประชาธิปไตยมาใช้
ข่าวลือเรื่องการรัฐประหารแพร่สะพัดไปทั่ว ในวันฉลองครบรอบ 150 ปีแห่งราชวงศ์จักรีในปี พ.ศ. 2475 อีกสอง เดือนต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน ก็มีการรัฐประหารเกิดขึ้น และเป็น การสิ้นสุการปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช การรัฐประหารเกิดขึ้นโดยกลุ่มบุคคลซึ่งใช้ชื่อว่า คณะ ราษฎร์ อันประกอบด้วยทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน แกนนำของกลุ่ม คณะราษฎร์ล้วนเป็นคนหนุ่มที่สำเร็จการศึกษามาจากยุโรป โดย เฉพาะกลุ่มที่เคยไปศึกษาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส แกนนำฝ่ายพลเรือน คือ นายปรีดี พนมยงค์ นักกฎหมายหนุ่มจากฝรั่งเศส ส่วนฝ่ายทหารมี พันเอกหลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตสังคะ) นายทหารปืนใหญ่จาก ฝรั่งเศสเช่นกันเป็นผู้นำ คณะผู้ก่อการได้เชิญ พลเอกพระยา พหลพล พยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายทหารปืนใหญ่ผู้สำเร็จการศึกษามา จากปรัสเซียมาเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร เนื่องจากเป็นนายทหาร ชั้นผู้ใหญ่ในกองทัพขณะนั้น
เช้าวันที่ 24 มิถุนายน ทหารในฝ่ายคณะราษฎร์ได้นำรถถัง และกำลังทหารจำนวนหนึ่งบุกยึดสถานที่สำคัญๆ ในกรุงเทพฯ ไว้ได้ หมด รวมทั้งทำการควบคุมตัวเจ้านายราชวงศ์ชั้นสูงเอาไว้เป็นตัว ประกันด้วย ขณะนั้นพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 กำลังเสด็จแปรพระราช ฐานอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล
แม้ฝ่ายคณะราษฎร์จะมีกำลังน้อยกว่าฝ่ายรัฐบาลมาก แต่ เพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือด รัชกาลที่ 7 ทรงยินดีสละพระราชอำนาจของพระองค์ ยอมรับการเป็นกษัตริย์ซึ่งอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญใน ระบอบประชาธิปไตย



การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5

1.การจัดตั้งสภาที่ปรึกษา เพื่อให้ขุนนาง ข้าราชการ ได้คุ้นเคยกับการปกครองในรูปแบบใหม่ ทำให้ขุนนาง ข้าราชการได้รู้จักการแสดงความคิดเห็น รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้มี 2 สภา คือ

1)สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ทำหน้าที่ประชุมปรึกษาในเรื่องราชการแผ่นดิน การออกกฎหมายต่างๆ

2)สภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาส่วนพระองค์เกี่ยวกับราชการต่างๆ

2.การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง ใน พ.ศ.2430 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการเสด็จกลับจากดูงานการปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ได้ทรงทำบันทึกเสนอต่อรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงพิจารณาที่จะให้มีการปฏิรูปการปกครอง จึงได้ทรงจัดตั้งกรมขึ้นใหม่ 6 กรม เมื่อรวมกับที่มีอยู่แล้ว 6 กรม เป็น 12 กรม คือ

1)กรมมหาดไทย 2)กรมพระกลาโหม 3)กรทท่า 4)กรมวัง 5)กรมเมือง 6)กรมนา 7)กรมพระคลัง 8)กรมยุติธรรม

9)กรมยุทธนาธิการ 10)กรมธรรมการ 11)กรมโยธาธิการ 12)กรมมุรธาธิการ

ใน พ.ศ.2435 กรมเหล่านี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง และโปรดฯ ให้ยกเลิกการปกครองระบบจตุสดมภ์ และใน พ.ศ.2437 ได้มีพระราชบัญญัติแยกอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมและมหาดไทยออกจากกัน

3.การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค มีการปกครองตามระบบเทศาภิบาล ซึ่งได้ระบุไว้ใน ประกาศจัดปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ร.ศ.113 โดยรวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าเป็น 1 มณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้บังคับบัญชาการมณฑลละ 1 คน ซึ่งต้องขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย การเปลี่ยนระบบการปกครองหัวเมืองเป็นระบบเทศาภิบาลไม่ได้ดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะว่ารัฐบาลประสบปัญหาหลายอย่าง เช่น การขาดบุคลากรในการปฏิบัติงาน รัฐบาลกลางขาดงบประมาณทำให้รัฐบาลต้องเร่งรัดภาษี

4.การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งต้องการให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล สุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรกคือสุขาภิบาลตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุครสาคร ตั้งขึ้นใน พ.ศ.2448

เหตุการณ์กบฎ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)
กบฎ ร.ศ. 130



ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ราวปีเศษ ทางการสืบทราบว่ามีคณะนายทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่งจัดตั้งสมาคม "อานาคิช" (Anarchist) มีสมาชิกประมาณ ๘๐๐ - ๑,๐๐๐ คน มีจุดมุ่งหมายวางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองลดพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ลงมา อยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนพระมหากษัตริย์อังกฤษหรือพระมหาจักรพรรดิญี่ปุ่น
ทางการจึงเข้าจับกุมตัวการสำคัญในการคบคิดวางแผนการในตอนเช้าวันศุกร์ที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ (ร.ศ. ๑๓๐)
ผู้ถูกจับกุมชุดแรกคือ นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ผู้บังคับกองพยาบาลโรงเรียนทหารบก ถูกจับที่โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม, นายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง สังกัดกรมพระธรรมนูญทหารบก ถูกจับที่บ้านถนนสุรศักดิ์ และนายร้อยตรีเจือ ศิลาอาศน์ สังกัดกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๒ ถูกจับที่กรมเสนาธิการทหารบก
การจับกุมตัวทหารผู้ก่อการกำเริบครั้งนี้ทำการหลายระลอก เฉพาะในวันแรกคือวันที่ ๑ มีนาคม จับกุมตัวนายทหารบกที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีที่ค้นพบจากบ้านขุนทวยหารพิทักษ์ ๕๘ คน เมื่อจับกุมมาได้ก็ให้มีการเขียนคำชี้แจงแบบซัดทอด ทำให้มีการขยายวงการสืบสวนออกไป และภายใน ๒ วัน ทางการก็จับกุมตัวผู้ต้องหาซัดทอดกันไปมาได้กว่าร้อยคน ส่วนผู้ต้องสงสัยแต่ยังไม่มีหลักฐานจับกุมเพียงพอก็ได้แต่งคนสะกดรอยเพื่อหา หลักฐานมัดตัวต่อไป เพราะหากหลักฐานไม่แน่นพอแล้วไปจับกุม สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ ทรงเกรงว่า จะทำให้ผู้คนแตกตื่นตกใจไปมาก

สมาชิกผู้เริ่มก่อการ
จากการสอบสวนของคณะกรรมการสรุปผลการสอบสวนและพิจารณาคดีซึ่งได้กราบบังคม ทูลต่อองค์พระประมุขเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๓๑ (พ.ศ. ๒๔๕๕) มีความโดยย่อดังต่อไปนี้
คณะกลุ่มทหารบก นายทหารเรือ และบุคคลพลเรือนได้สมคบคิดกันเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมือง โดยเริ่มประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔ ตามศักราชเก่า) และประชุมต่อมาอีก ๗ ครั้งรวมเป็น ๘ ครั้งตามสถานที่ดังต่อไปนี้
• สองครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม และ ๒๑ มกราคม ร.ศ. ๑๓๐ ที่บ้านนายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ ตำบลสาทร
• ครั้งที่ ๓ วันที่ ๒๘ มกราคม ร.ศ. ๑๓๐ ที่โบสถ์ร้างวัดช่องลม ช่องนนทรี
• ครั้งที่ ๔ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๓๐ ที่ทุ่งนาห่างจากสถานีรถไฟคลองเตย ประมาณ ๖๐๐ เมตร
• ครั้งที่ ๕ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๓๐ ที่สวนผักของพระสุรทัณฑ์พิทักษ์ บิดาของนายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุทธยา ที่ตำบลศาลาแดง
• ส่วนอีกสามครั้งหลัง คือวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์, วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๓๐ ประชุมที่อนุกูลคดีกิจสถาน แถววังบูรพาภิรมย์ ซึ่งเป็นสถานที่ว่าความของนายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง สำนักงานอนุกูลคดีกิจสถานใช้เป็นที่สมาชิกพบปะกันและเป็นสถานที่รับสมาชิก ใหม่ด้วย
การประชุมครั้งแรกที่บ้านนายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์นั้น เป็นเสมือนหนึ่งสมาชิกผู้เริ่มก่อการมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ๙ คน คือ
1. นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ สังกัดกรมแพทย์ทหารบก อายุ ๓๐ ปี
2. นายร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์ สังกัดกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ อายุ ๒๐ ปี
3. ว่าที่นายร้อยตรีสิริ ชุณห์ประไพ สังกัดกรมทหารราบที่ ๑๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ อายุ ๒๒ ปี
4. นายร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รัชนิกร สังกัดกองโรงเรียนนายสิบ กองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ อายุ ๒๒ ปี
5. ว่าที่นายร้อยตรีเขียน อุทัยกุล สังกัดกองโรงเรียนนายสิบ กองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ อายุ ๒๕ ปี
6. นายร้อยตรีปลั่ง บูรณะโชติ สังกัดกองปืนกลที่ ๑ อายุ ๒๒ ปี
7. นายร้อยตรีสอน วงษ์โต สังกัดกองปืนกลที่ ๑ อายุ ๒๓ ปี
8. นายร้อยตรีจรูญ ษะตะเมษ สังกัดกองปืนกลที่ ๑ อายุ ๒๖ ปี

แนวทางการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ที่ประชุมได้ตกลงเรื่องเปลี่ยนแปลงการปกครองออกเป็น ๒ แบบคือ
1. "ลิมิเตดมอนากี" (Limited Monarchy) จะมีการดำเนินการ ๒ อย่าง คือ
1. ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกุรณาโดยละม่อม
2. ยกกำลังเข้าล้อมวัง แล้วบังคับให้ทรงสละพระราชอำนาจมาอยู่ใต้กฎหมาย หรือเปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดินโดยจะทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต หรือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย
2. "รีปับลิค" (Republic) จะทูลเชิญเสด็จพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ขึ้นเป็นประธานาธิบดี
การตัดสินลงโทษ
แม้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ มีรับสั่งว่าเรื่อง ร.ศ. ๑๓๐ เป็นเรื่องของคนหนุ่มตามยุคตามสมัย ไม่มีอะไรรุนแรง บางทีจะถูกลงโทษบ้าง คนละ ๓ ปี ๔ ปีเท่านั้น[2]
แต่ในความเป็นจริง ทางการได้ลงความเห็นมาตั้งแต่ราวกลางเดือนเมษายนแล้วว่า พวกก่อการกำเริบมีความผิดฐานพยายามจะประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว ตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๙๗ และฐานพยายามกบฏตามมาตรา ๑๐๒ ต่างมีโทษประหารชีวิตทุกคน

สายการบังคับบัญชา
คณะ ร.ศ. ๑๓๐ วางสายบังคับบัญชามีหัวหน้า ๓ คน มีนายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ หัวหน้าคนที่ ๑ นายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง หัวหน้าคนที่ ๒ และร้อยโทจือ ควกุล หัวหน้าคนที่ ๓ และยังแบ่งแยกหน้าที่ให้กับสมาชิกต่างๆ ตามสายงานดังนี้
1. หน้าที่ปกครอง : นายร้อยโทจรูญ
2. หน้าที่เสนาธิการ : นายร้อยโทจือ มีนายร้อยโททองดำ เป็นผู้ช่วย
3. หน้าที่การเงิน : นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ มีนายร้อยโทจรูญ เป็นผู้ช่วย
4. หน้าที่กฎหมาย : นายร้อยโทจรูญ มีนายร้อยโททองดำ เป็นผู้ช่วย
5. หน้าที่ต่างประเทศ : นายพันตรีหลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์
6. หน้าที่บัญชีพล : นายร้อยตรีเขียน นายร้อยตรีโกย นายร้อยตรีปลั่ง
7. หน้าที่จัดการเลี้ยงดู : นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์
8. หน้าที่สืบข่าวส่งข่าว : นายร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ นายร้อยตรีบ๋วย นายร้อยตรีเนตร นายร้อยตรีสอน
9. หน้าที่แพทย์ : นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์
10. ที่ปรึกษาทั่วไป : นายร้อยโทจรูญ

ในที่สุดคณะพิจารณาคดีก็ตัดสินโทษโดยพิจารณาถึงการมีส่วนร่วมกระทำ ความผิดมากน้อยเพียงใด โดยมีโทษหนักที่สุดคือประหารชีวิต จนมาถึงเบาที่สุดคือจำคุก ๑๒ ปี มีผู้ถูกตัดสินประหารชีวิต ๓ นายคือ นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ ในฐานะ "เป็นคนต้นคิดและหัวหน้าคณะแห่งคน พวกนี้ที่ปรากฎว่าคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมืองและคิดกระทำการถึง ประทุษร้ายต่อประชาชนและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว", นายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่า "คงเกี่ยวกับการจัดหาอาวุธ" และ นายร้อยตรีเจือ ศิลาอาสน์ " ซึ่งเข้าร่วมประชุมสามครั้ง ภายหลังคิดเกลี้ยกล่อมคนจะเข้าแย่งพรรคพวกที่ถูกขังในเวลาใดเวลาหนึ่ง สุดแต่จะมีโอกาสกับพยายามประทุษร้ายพระเจ้าแผ่นดิน"
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า "เห็น ว่า กรรมการพิพากษาลงโทษพวกเหล่านี้ ชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการแล้ว แต่ว่าความผิดของพวกเหล่านี้มีข้อสำคัญที่จะกระทำร้ายต่อตัวเรา เราไม่ได้มีจิตพยาบาทอาฆาตมาดร้ายต่อพวกนี้ เห็นควรที่จะลดหย่อนผ่อนโทษโดยฐานกรุณา ซึ่งเป็นอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินจะยกให้ได้
เพราะฉะนั้นบรรดาผู้ที่มีชื่อ ๓ คน ซึ่งวางโทษไว้ในคดีพิพากษาของกรรมาการว่าเป็นโทษชั้นที่ ๑ ให้ประหารชีวิตนั้น ให้ลดลงเป็นโทษชั้นที่ ๒ ให้จำคุกตลอดชีวิต แลบรรดาผู้มีชื่อ ๒๐ คน ซึ่งวางโทษไว้เป็นชั้นที่ ๒ ให้จำคุกตลอดชีวิตนั้น ให้ลดลงเป็นโทษชั้นที่ ๓ คือ ให้จำคุกมีกำหนด ๒๐ ปี ตั้งแต่วันนี้สืบไป แต่บรรดาผู้ที่มีชื่ออีก ๖๘ คน ซึ่งวางโทษไว้ชั้นที่ ๓ ให้จำคุก ๒๐ ปี ๓๒ คน และวางโทษชั้นที่ ๔ ให้จำคุก ๑๕ ปี ๖ คน และวางโทษชั้นที่ ๕ ให้จำคุก ๑๒ ปี ๓๐ คนนั้น ให้รอการลงอาญาไว้ ทำนองอย่างเช่นได้กล่าวในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๔๑ และ ๔๒ ซึ่งว่าด้วยการรอลงอาญาในโทษอย่างน้อยนั้น และอย่าเพ่อให้ออกจากตำแหน่งยศก่อน แต่ฝ่ายผู้มีชื่อ ๓ คน ที่ได้ลงโทษชั้นที่ ๒ กับผู้ที่มีชื่อ ๒๐ คน ที่ได้ลงโทษชั้นที่ ๓ รวม ๒๓ คน ดังกล่าวมาข้างต้นนั้น ให้ถอดจากยศบรรดาศักดิ์ตามอย่างธรรมเนียม ซึ่งเคยมีกับโทษเช่นนั้น..."
คณะ ร.ศ. ๑๓๐ จึงถูกจำคุกจริงๆ ๒๕ คน โดยถูกคุมขังในคุกมหันตโทษ (คุกต่างประเทศ) ๒๓ คน และเรือนจำนครสวรค์ ๒ คน ทั้งหมดต้องโทษถูกคุกขังอยู่ ๑๒ ปี ๖ เดือน ๖ วัน จึงได้รับพระราชทานอภัยโทษ ในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๗ ครบรอบปีที่ ๑๕ ของการครองราชย์ ระหว่างต้องโทษมีผู้เสียชีวิต ๒ คนคือ นายร้อยตรีวาส วาสนา หลังจากต้องโทษ ๔ ปี ถึงแก่กรรมด้วยวัณโรค และ หลังจากนั้นอีก ๒ ปี นายร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รัชนิกร ถึงแก่กรรมด้วยโรคลำไส้



การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475
วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ทุกวันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือ การปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป

หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า (ถ้าหันหน้าไปทางเดียวกับหัวม้า จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ) มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ" เป็นหลักฐานถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมื่อ 72 ปีก่อน ข้อความเหล่านี้นับวันแต่จะเลือนหายไปตามกาลเวลา

คณะราษฎรที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นั้นประกอบด้วยคนสองกลุ่ม คือ

1. กลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศ

2. กลุ่มนายทหารในประเทศไทย

บุคคลทั้งสองกลุ่มพื้นฐานการศึกษาคล้ายกัน คือ ศึกษาวิชาพื้นฐานหรือวิชาชีพจากประเทศทางตะวันตก ใกล้ชิดกับการปกครองของประเทศที่ตนไปศึกษา คือ ได้สัมผัสกับบรรยากาศการปกครองในระบอบประธิปไตย เห็นความเจริญก้าวหน้าจากการที่ประชาชนในยุโรปตะวันตกมีส่วนร่วมในการปกครอง ประกอบกับบุคคลทั้งสองกลุ่มเป็นบุคคลที่มีสติปัญญาสูง ส่วนใหญ่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง จึงกำหนดในความคิดว่าตนควรจะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ

คณะผู้ก่อการยึดอำนาจการปกครอง ได้รวมกลุ่มกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ได้มีข้อขัดแย้งกับผู้ดูแลนักเรียนไทยในฝรั่งเศสซึ่งเป็นพระราชวงศ์องค์ หนึ่ง ซึ่งกล่าวหาว่านักเรียนไทยเป็นพวกหัวรุนแรง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัย ควรเรียกบางคนกลับประเทศไทยำให้นักเรียนในต่างประเทศมีพื้นฐานการไม่พอใจ สถานการณ์บ้านเมืองเป็นส่วนตัว คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เป็นนักเรียนไทยในต่างประเทศเมื่อกลับ มาถึงประเทศไทย ก็ได้เตรียมการวางแผนยึดอำนาจโดยชักชวนให้กลุ่มนายทหารเข้าร่วมด้วย การยึดอำนาจการปกครองของประเทศไทยมีผู้กระทำมาครั้งหนึ่งแล้วใน ร.ศ.130 กระทำไม่สำเร็จ ดังนั้นคณะราษฎรจึงได้วางแผนอย่างดีป้องกันข้อบกพร่องที่อาจมีขึ้น และการชัดชวนทหารเข้าร่วมด้วยจึงทำให้เกิดความสำเร็จเพราะทหารมีอาวุธ ผู้บริหารประเทศยินยอมให้คณะราษฎรยึดอำนาจไม่โต้แย้ง ด้วยเกรงว่าพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงประชาชนจะเป็นอันตรายเพราะอาวุธ

ชนวนที่ทำให้คณะราษฎรลงมือวางแผนยึดอำนาจมีหลายสาเหตุ ได้แก่

สาเหตุแรก สภาพบ้าน เมืองในช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาอภิรัฐมนตรีสภาซึ่งสมาชิกทั้งหมดเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ด้วยเหตุผลที่จำให้แก้สถานการณ์ที่กล่าวว่า พระมหากษัตริย์กับพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่แตกแยกกัน อภิรัฐมนตรีสภาช่วยแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้หลายประการแต่ความคิดของผู้ใหญ่ และของผู้เยาว์กว่าย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นการยับยั้งข้อเสนอบางเรื่องโดยเฉพาะพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเย้าอยู่หัวที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนชาวไทยในวาระราชวงศ์ จักรีทรงปกครองแผ่นดินมาครบ 150 ปี จึงทำให้คณะราษฎรและกลุ่มหนังสือพิมพ์มองว่า พวกเจ้าหลงกับอำนาจ
สาเหตุที่สอง ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศรายได้ไม่พอกับรายจ่าย สืบเนื่องจากเศรษฐกิจของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และการใช้จ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว การแก้ไขคือ การดุลข้าราชการ ยุบเลิกหน่วยงานต่าง ๆ ตัดทอนค่าใช้จ่ายของกระทรวง กรม กอง และเก็บภาษีบางประการเพิ่มการแก้ไขดังนี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้เสีย ประโยชน์ ในวงการทหารก็เช่นกัน การขัดแย้งเรื่องงบประมาณกระทรวงกลาโหม จนถึงเสนาบดีกระทรวงกลาโหมขอลาออกจากราชการ จึงเป็นเหตุให้นายทหารคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในขณะที่มีการดุลข้าราชการออก ก็มีกลุ่มบุคคลมองว่าดุลออกเฉพาะสามัญชน ส่วนข้าราชการที่เป็นเจ้าไม่ต้องถูกดุล แล้วยังบรรจุเข้าทำงานแทนสามัญชนอีก ความแตกต่างทางฐานะด้านสังคมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง
สาเหตุที่สำคัญที่สุดก็คือ ความล่าช้าในการบริหารราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะฝึกข้าราชการในสภากรรมการองคมนตรีให้เรียนรู้วิธีการ ประชุม ปรึกษาแบบรัฐสภาเพื่อเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ก็ทำได้อย่างไม่มีผลเท่าไรนักพระราชบัญญติเทศบาลซึ่งจะเป็นรากฐานของการ ปกครองตนเองก็ยังไม่ได้ประกาศออกใช้ และข้อสุดท้ายคือ ร่างรัฐธรรมนูญที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ผู้ชำนาญการร่างไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่ได้พระราชทานแก่ประชาชน
การเปลี่ยนแปลงการปกครองกระทำได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน การปกครองของประเทศจึงเปลี่ยนไป คือมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ

76 ปี ประชาธิปไตยไทย

การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในยุครัตนโกสินทร์ ยั่งยืนมา 150 ปี จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) จนบัดนี้กำลังล่วงลุสู่ปีที่ 76 ในวันที่ 24 มิถุนายน 2551 ที่จะถึงนี้

เมื่อวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติได้ออกประกาศเรียกว่า ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 อ้างเหตุผลความจำเป็นในการต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองความว่า

"เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ ครองราชย์สมบัติสืบต่อพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การณ์หาเป็นไปตามหวังที่คิดไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายตามเดิมทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้ คุณงามความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน ผลาญเงินทองของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้ในการตกต่ำในการเศรษฐกิจและความฝืดเคืองทำมาหากิน ซึ่งราษฎรได้รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย มิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้ การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิได้ปกครองประเทศ เพื่อราษฎรตามที่รัฐบาลอื่นๆได้กระทำกัน ..... ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นได้โค่นราชบัลลังก์เสียแล้ว"

"ฯลฯ.......เหตุ ฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่า การที่จะแก้ความชั่วร้ายก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่มีประสงค์ทำการชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองของแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความเห็นนี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจล งม าก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่า ราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุก ๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้าน มาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว"

คณะผู้ก่อการปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์ ได้ประกาศนโยบาย โดยเรียกว่า "หลักใหญ่ๆที่คณะราษฎรวางไว้" มีอยู่ว่า

1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง

2. จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

3. ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทาง เศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎร เช่นที่เป็นอยู่)

5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลักสี่ประการดังกล่าวข้างต้น

6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

คณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติ ได้ให้ความหวังแก่ประชาชนในแถงการณ์สุดท้ายว่า " ราษฎรทั้งหลาย จงพร้อมกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันคงจะอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือ กฎหมาย พึงตั้งอยู่ในความสงบและตั้งหน้าหากิน อย่าทำการใดๆอันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลนของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาส พวกเจ้าหมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า "ศรีอาริย์" นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า"

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระปก เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ รวมทั้งความเสียหายแก่บ้านเมือง และเนื่องจากพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบ ประชาธิปไตยอยู่แล้ว จึงไม่ทรงขัดความปรารถนาของคณะราษฎรที่ได้กราบบังคมทูลเชิญเป็นพระมหา กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองและได้พระราชทาน รัฐธรรมนูญ ฉบับถาวรดังกล่าว เหตุการณ์บ้านเมือง มีความสับสนวุ่นวาย อาญาสิทธิในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลายเป็นการผูกขาดอำนาจเผด็จการในระบอบ ประชาธิปไตยที่คณะราษฎรกำหนดให้ จนมีคำกล่าวขานเป็นคำคล้องจองว่า "พระยาพหลต้นคิด หลวงประดิษฐ์ต้นเรื่อง โค่นอำนาจพระราชา ปล่อยหมูปล่อยหมามานั่งเมือง"

วันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสละราชสมบัติ โดยพระราชหัตถเลขา ความว่า

"ข้าพเจ้าเห็นว่า คณะรัฐบาลและพวกพ้องใช้วิธีการปกครองไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัว บุคคลและหลักความยุติธรรม ตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใด คณะใดใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้

ข้าพเจ้ามี ความเต็มใจที่จะสละอำนาจ อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาชน"

76 ปีที่ผ่านมาจนบัดนี้ สถานการณ์บ้านเมืองดังที่คณะราษฎรได้หยิบยกขึ้นมาประกอบเพื่อเป็นเหตุผลใน การปฏิวัติยังคงมีอยู่อย่างครบถ้วนทุกประการ ซ้ำร้ายหลายประการยิ่งเลวร้ายขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่า"คนสอพลอไร้คุณงาม ความรู้ขึ้นดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญๆ การไม่ฟังเสียงราษฎร การปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในการรับสินบนทุจริตคอรัปชั่น การหากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน การปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม การทำตนอยู่เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้" หลักใหญ่ 5 ประการที่เสมือนนโยบายดังได้ประกาศไว้ และให้ความหวังไว้ว่าจะนำความสุขความเจริญอย่างประเสริฐเยี่ยง "ศรีอาริย์" มาบังเกิดแก่ราษฎรถ้วนหน้า ดูเหมือนกำลังจะนำพาประเทศชาติไปสู่ "กลียุค" เข้าทุกขณะ

ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 และฉบับต่อมาหลายฉบับ คือการ "ล้มเจ้า" และบังอาจจาบจ้วงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผยและร้ายแรงที่สุดต่อสาธารณะ

วันที่ 9 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงขึ้นครองราชย์ ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยพระราชปณิธานว่า "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

62 ปี ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาล และทศพิธราชธรรมที่มั่นคง เป็นสิ่งที่นำพาชาติไทยให้ร่มเย็นเป็นสุขและอยู่รอดตลอดมา

ประวัติการ ปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ในประเทศไทย
รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476

เป็นรัฐประหารครั้งแรกในประเทศไทย (ซึ่งบางครั้งจะไม่นับ รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476 เป็นครั้งแรก) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจการปกครองของนายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
รัฐประหารครั้งนี้มีขึ้นหลังเกิดความตึงเครียดเมื่อพระยามโนปกรณ์นิติ ธาดาประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา หลังจากมีความขัดแย้งกันในหมู่รัฐบาลคณะราษฎร อันสืบเนื่องจากการยื่น "สมุดปกเหลือง" เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ จึงนำไปสู่การปิดหนังสือพิมพ์บางฉบับ และเมื่อถึงขั้นวิกฤต "4 ทหารเสือ" คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์ พิทยายุทธ์ ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อพักผ่อนหลังจากตรากตรำทำงานราชการจนสุขภาพเสื่อมโทรม
วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 คณะทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา หลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
การปฏิวัติ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

" คณะราษฎร " ซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนบางกลุ่ม จำนวน ๙๙ นาย มีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จาก พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ป ร มิ น ท ร ม ห าป ร ะ ช า ธิ ป ก พ ร ะ ป ก เ ก ล้ าเ จ้ า อ ยู่ หั ว รั ช ก า ลที่ ๗ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบต่อไป พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ เ จ้ า อ ยู่ หั ว ทรงมีพระราชดำริ ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ปวงชนชาวไทยอยู่ก่อนแล้ว จึงทรงยินยอมตามคำร้องขอของคณะราษฎร ที่ทำการปฏิวัติในครั้งนั้น

**********************************************************************

รัฐประหาร ๒๐ มิถุนายน ๒๔๗๖

พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่งซึ่งเป็นการริดรอนอำนาจภายในคณะราษฏร ที่มีการแตกแยกกันเอง ในส่วนของการใช้อำนาจ ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ใช้อำนาจในทางที่ละเมิดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ เช่น ให้มีศาลคดีการเมือง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีอิสระอย่างเต็มที่ การประกาศทรัพย์สินของนักการเมืองทุกคนทุกตำแหน่ง การออกกฎหมายผลประโยชน์ขัดกัน ฯลฯ

**********************************************************************

กบฏบวชเดช ๑๑ ตุลาคม ๒๔๗๖

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ก่อการเพื่อล้มล้างอำนาจของรัฐบาล โดยอ้างว่าคณะราษฎรปกครองประเทศไทยโดยกุมอำนาจไว้แต่เพียงแต่เพียงผู้เดียว และปล่อยให้บุคคลกระทำการหมิ่นองค์พระประมุขของชาติ รวมทั้งจะดำเนินการปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแนวทางของนายปรีดี พนมยงค์ คณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ายึดดอนเมืองเอาไว้ ฝ่ายรัฐบาลได้แต่งตั้ง พ.ท.หลวง พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ออกไปปราบปรามจนประสบผลสำเร็จ

**********************************************************************

กบฏนายสิบ ๑ สิงหาคม ๒๔๗๘

ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา

**********************************************************************

กบฏพระยาทรงสุรเดช ๒๙ มกราคม ๒๔๘๑

ได้มีการจับกุมบุคคลผู้คิดล้มล้าง รัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณา และได้ตัดสินประหารชีวิตหลายคน ผู้มีโทษถึงประหารชีวิตบางคน เช่น พ ร ะ เ จ้ า บ ร ม ว ง ศ์ เ ธ อ กรมขุนชัยนาทนเรนทร นายพลโทพระยาเทพหัสดิน นายพันเอกหลวงชานาญยุทธศิลป์ ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นผู้ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมาก่อน

**********************************************************************

รัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐

คณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย

**********************************************************************

กบฏแบ่งแยกดินแดน ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑

จะมีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนรา ษฏรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฏรมีเอกสิทธิทางการเมือง

**********************************************************************

รัฐประหาร ๖ เมษายน ๒๔๙๑

คณะ นายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป

**********************************************************************

กบฏเสนาธิการ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๑

พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจะกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จ

**********************************************************************

กบฏวังหลวง ๒๖ มิถุนายน ๒๔๙๒

นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยกาปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง

**********************************************************************

กบฏแมนฮัตตัน ๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๔

นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ

**********************************************************************

รัฐประหาร ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๔

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ต้องใช้วิธีการให้ตำแหน่งและผลประโยชน์ต่างๆ แก่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอยู่เสมอ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๔๙๒ ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น มีวิธีการที่เป็นประชาธิปไตยมากเกินไป จึงได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเสีย พร้อมกับนำเอารัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ มาใช้อีกครั้งหนึ่ง

**********************************************************************

กบฏสันติภาพ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๗

นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับในข้อหากบฏ โดยรัฐบาลซึ่งขณะนั้นมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่าการรวมตัวกันเรี่ยไรเงิน และข้าวของไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นกำลังประสบกับความเดือดร้อน เนื่องจากความแห้งแล้งอย่างหนัก เป็นการดำเนินการที่เป็นภัยต่อรัฐบาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กับคณะถูกศาลตัดสินจำคุก ๕ ปี

**********************************************************************

รัฐประหาร ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเกิดการเลือกตั้งสกปรก และรัฐบาลได้รับการคัดค้านจากประชาชนอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ต้องหลบหนีออกไปนอกประเทศ

**********************************************************************

รัฐประหาร ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑

เป็นการปฏิวัติเงียบอีกครั้งหนึ่ง โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ลากออกจากตำแหน่ง ในขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการขัดแย้งในพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และมีการเรียกร้องผลประโยชน์หรือตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง เป็นเครื่องตอบแทนกันมาก คณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และให้สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง

**********************************************************************

รัฐประหาร ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔

จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการปฏิวัติตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา ๓ ปี

**********************************************************************

ปฏิวัติโดยประชาชน ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖

การเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญของนิสิต นักศึกษา และประชาชนกลุ่มหนึ่งได้แผ่ขยายกลายเป็นพลังประชาชนจำนวนมาก จนเกิดการปะทะสู้รบกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นผลให้จอมพลถนอม กิตติขจร นายักรัฐมนตรี จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ

**********************************************************************

ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙

พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

**********************************************************************

กบฎ ๒๖ มีนาคม ๒๕๒๐

พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ ๙ จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ ๔ แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา ๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๒๐

**********************************************************************

รัฐประหาร ๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๐ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง ๑๒ ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว

**********************************************************************

กบฎ ๑ เมษายน ๒๕๒๔

พล เอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้

**********************************************************************

การก่อความไม่สงบ ๙ กันยายน ๒๕๒๘

พัน เอกมนูญ รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหาร และรถถังจาก ม.พัน ๔ ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชา และกำลังทหารอากาศโยธินบางส่วน ภายใต้การนำของนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในขณะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก อยู่ในระหว่างการไปราชการต่างประเทศ กำลังทหารฝ่ายรัฐบาลโดยการนำของพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชากรทหารสูงสุด ได้รวมตัวกันต่อต้านและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา พันเอกมนูญ รูปขจร และนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร หลบหนีออกนอกประเทศ การก่อความไม่สงบในครั้งนี้มีอดีตนายทหารผู้ใหญ่หลายคน ตกเป็นผู้ต้องหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และพลอากาศเอกอรุณ พร้อมเทพ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

**********************************************************************

รัฐประหาร ๒๓กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔

โดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่-ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณ-จันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมร-วิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และพลเอกอสิระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑ ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี

**********************************************************************

รัฐประหาร ๑๙กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙

รัฐ ประหาร ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นรัฐประหารในประเทศไทยซึ่งเกิดขึ้นในคืนวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ โดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ

และขณะ เดียวกัน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งได้ข่าวการรัฐประหารโดยได้พยายามติอต่อช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์ เพื่อการออกโทรทัศน์ แต่เนื่องจากไม่ได้มีการเตรียมไว้จึงทำให้การออกโทรทัศน์ไม่ได้และมีการโฟน อินไปยังช่อง ๙ ประกาศใช้ พ.ร.ก สถานการณ์ฉุกเฉิน เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ

ต่อ มาเมื่อมีการยึดพื้นที่ได้ทำให้ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ได้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี แล้วประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในเดือน ตุลาคม หลังจากที่การเลือกตั้งเดือนเมษายนถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘

รัฐประหารดังกล่าวไม่มีการเสีย เลือดเนื้อและไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาจากนานาชาติมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์โดยประเทศ เช่น ออสเตรเลีย การแสดงความความเป็นกลาง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนถึงการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกาซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็น พันธมิตรนอกนาโต และกล่าวว่าการก่อรัฐประหารนั้น "ไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้"

ภาย หลังรัฐประหาร คปค.ได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกใน ๔๑ จังหวัด รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ยังคงไว้ ๓๕ จังหวัด



รัฐสภาไทย

ห้องประชุมรัฐสภาไทย

รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง

ประวัติรัฐสภาไทย
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา
ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ

หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา

ประธานรัฐสภาไทย
ดูบทความหลักที่ รายนามประธานรัฐสภาไทย

จนถึงปัจจุบัน รัฐสภาไทย มีผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา รวม 28 คน ดังนี้

1. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
28 มิถุนายน - 1 กันยายน 2475
15 ธันวาคม 2475 - 26 กุมภาพันธ์ 2476
2. เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
2 กันยายน 2475 - 10 ธันวาคม 2476
3. พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
26 กุมภาพันธ์ 2476 - 22 กันยายน 2477
6 กรกฎาคม 2486 -24 มิถุนายน 2487
ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
31 สิงหาคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2490
15 พฤษภาคม 2490 - 8 พฤศจิกายน 2490
4. เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
22 กันยายน 2477 - 15 ธันวาคม 2477
17 ธันวาคม 2477 - 31 กรกฎาคม 2478
7 สิงหาคม 2478 - 31 กรกฎาคม 2479
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
26 พฤศจิกายน 2490 - 18 กุมภาพันธ์ 2491
20 กุมภาพันธ์ 2491 - 14 มิถุนายน 2492
15 มิถุยายน 2492 - 20 พศจิกายน 2493
22 พฤศจิกายน 2493 - 29 พฤศจิกายน 2494
5. พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
3 สิงหาคม 2479 - 10 ธันวาคม 2480
10 ธันวาคม 2480 -24 มิถุนายน 2481
28 มิถุยายน 2481 - 10 ธันวามคม 2481
12 ธันวาคม 2481 - 24 มิถุนายน 2482
28 มิถุนายน 2482 - 24 มิถุนายน 2483
1 กรกฎาคม 2483 - 24 มิถุนายน 2484
1 กรกฎาคม 2484 - 24 มิถุนายน 2485
30 มิถุนายน 2485 - 24 มิถุนายน 2586
2 กรกฎาคม 2487 - 24 มิถุนายน 2488
29 มิถุนายน 2488 - 15 ตุลาคม 2488
26 มกราคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2489
6. พันตรีวิลาศ โอสถานนท์ ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
4 มิถุนายน 2489 - 24 สิงหาคม 2489
7. พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
1 ธันวาคม 2494 - 17 มีนาคม 2495
22 มีนาคม 2495 - 23 มิถุนายน 2495
28 มิถุนายน 2495 -23 มิถุนายน 2496
2 กรกฎาคม 2496 - 23 มิถุนายน 2497
29 มิถุนายน 2497 - 23 มิถุนายน 2498
2 กรกกาคม 2498 - 23 มิถุนายน 2499
30 มิถุนายน 2499 - 25 กุมภาพันธ์ 2500
16 มีนาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2500
28 มิถุนายน 2500 - 16 กันยายน 2500
27 ธันวาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2501
25 มิถุนายน 2501 - 20 ตุลาคม 2501
8. พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร)
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
20 กันยายน 2500 - 14 ธันวาคม 2500
ประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
6 กุมภาพันธ์ 2502 - 17 เมษายน 2511
9. นายทวี บุณยเกตุ ประธานรัฐสภา และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
8 พฤษภาคม2511 -20 มิถุนายน 2511
10. พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
22 กรกฎาคม 2511 - 6 กรกฎาคม 2514
7 กรกฎาคม 2514 - 17 พฤศจิกายน 2514
11. พลตรีศิริ สิริโยธิน ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
18 ธันวามคม 2515 - 11 ธันวาคม 2516
12. พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
29 ธันวาคม 2516 -7 ตุลาคม 2517
13. นายประภาศน์ อวยชัย ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
17 ตุลาคม 2517 - 25 มกราคม 2518
14. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
7 กุมภาพันธ์ 2518 -12 มกราคม 2519
15. นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
19 เมษายน 2519 - 6 ตุลาคม 2519
6 กุมภาพันธ์ 2544 - 5 มกราคม 2548
16. พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและประธานรัฐสภา
22 ตุลาคม 2519 - 20 พฤศจิกายน 2519
17. พลอากาศเอก หะริน หุงสกุล
ประธานรัฐสภา และประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
28 พฤศจิกายน 2519 - 20 ตุลาคม 2520
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
25 พฤศจิกายน 2520 - 22 เมษายน 2522
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
9 พฤษภาคม 2522 - 19 มีนาคม 2526
18. นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
26 เมษายน 2526 - 19 มีนาคม 2527
19. ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน
ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
30 เมษายน 2527 - 30 เมษายน 2528
1 พฤษภาคม 2528 - 23 เมษายน 2530
24 เมษายน 2530 - 22 เมษายน 2532
3 เมษายน 2335 - 26 พฤษภาคม 2535
ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2 เมษายน 2534 - 21 มีนาคม 2535
20. ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
4 พฤษภาคม 2532 - 23 กุมภาพันธ์ 2534
21. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
28 มิถุนายน 2535 - 29 มิถุนายน 2535
22. ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
22 กันยายน 2535 - 19 พฤษภาคม 2538
23. นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
11 กรกฎาคม 2538 27 กันยายน 2538
24. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
24 พฤศจิกายน 2539 - 27 มิถุนายน 2543
25. นายพิชัย รัตตกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
30 มิถุนายน 2543 - 9 พฤศจิกายน 2543
26. นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
8 มีนาคม 2548 - 24 กุมภาพันธ์ 2549
27. นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
23 มกราคม 2551 - เมษายน 2551
28. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
15 พฤษภาคม 2551 - (ปัจจุบัน)



รัฐบาลไทย

รัฐบาล คือองค์การที่มีอำนาจในการออกและบังคับใช้กฎหมาย สำหรับดินแดนหนึ่งๆ นิยามที่ชัดเจนของรัฐบาลนั้นมีอยู่หลายนิยาม ในกรณีทั่วไป รัฐบาล คือผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง กล่าวคือมีอำนาจในการบริหารจัดการเหนือพื้นที่ใดๆ หรือเหนือกลุ่มคนนโยบายลดความยากจนในรัฐบาลปัจจุบัน

นโยบายลดความยากจนในสมัยรัฐบาลทักษิณ (18 ก.พ. พ.ศ. 2544 -

ปัจจุบัน) ที่สำคัญซึ่งกำลังดำเนินการในปัจจุบัน 6 โครงการ
ได้แก่

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ธนาคารประชาชน โครงการการพักชำระหนี้ให้กับเกษตรกร

โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

นโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

นโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลทักษิณ

เป็นแหล่งเงินทุนให้กับหมู่บ้านและชุมชนเมือง
เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ทั้งด้านการพัฒนาอาชีพ

สร้างงาน สร้างรายได้ และด้านสวัสดิการสังคม โดยรัฐบาลจะให้เงิน
สนับสนุน

กองทุนๆ ละ 1 ล้านบาท โดยมีชาวบ้านเป็น

ผู้บริหารและควบคุมดูแลในการจัดการเงินกองทุนเอง

การจัดตั้งกองทุน
หมู่บ้านจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหาร กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติมีหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงาน

พร้อมทั้งแต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน

ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ

เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการจัดตั้ง
กองทุนหมู่บ้านจากทางฝ่ายราชการ

ส่วนหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองจะต้องจัดตั้งกองทุนและจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการ
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจำนวน

15 คน ซึ่งคณะกรรมการอาจจะประกอบด้วยตัวแทนกลุ่ม

องค์กรประชาชน
และประชาชนในหมู่บ้าน หรือชุมชน พร้อมทั้งจัดทำระเบียบข้อบังคับ

หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกองทุนหมู่บ้าน รับสมัครสมาชิก ระดมทุน จัดทำระบบบัญชี

จัดทำระบบตรวจสอบ มอบหมายภารกิจและความรับผิดชอบ

แล้วจึงขอขึ้นทะเบียนกองทุนหมู่บ้าน
หรือชุมชนเมืองกับธนาคารออมสิน

หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

เพื่อเปิดบัญชีกับธนาคารสำหรับขอรับ
เงินกองทุน 1 ล้านบาท จากคณะกรรมการ

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

แต่ก่อนที่จะได้รับเงินสนับสนุน
กองทุนหมู่บ้านจะต้องถูกประเมินความพร้อมจาก

คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ ซึ่งมีประเด็นต่างๆ ได้แก่

- การคัดเลือกคณะกรรมการกองทุน


- คุณสมบัติของคณะกรรมการกองทุน
- ความรู้

ประสบการณ์และความมั่นใจในการบริหารกองทุนของคณะกรรมการกองทุน
-

ระเบียบข้อบังคับในการดำเนินการกองทุน
-

การมีส่วนร่วมของชาวบ้านหรือสมาชิกในการจัดการกองทุน
-

การปฏิบัติของสมาชิกตามระเบียบและข้อบังคับของกองทุน
-

การเปิดบัญชีเงินฝากของกองทุน

การประเมินความพร้อมของกองทุนหมู่บ้านจะแบ่งกองทุนหมู่บ้านออกเป็น

3 ประเภท คือ กลุ่มที่มีความพร้อม

กลุ่มที่ต้องปรับปรุง
และกลุ่มที่ต้องติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด

กลุ่มที่มีความพร้อมอยู่แล้วเป็นกลุ่มที่ผ่านการประเมินในประเด็นทั้งหมดข้างต้น
และพร้อมที่จะดำเนินกิจกรรมให้กู้แก่สมาชิกได้ทันที

ส่วนอีกสองกลุ่มที่เหลือเป็นกลุ่มที่ยังมีข้อบกพร่อง

ซึ่งจะต้องทำการแก้ไข
ปรับปรุงเพื่อเลื่อนฐานะขึ้นมาเป็นกลุ่มที่มีความพร้อมต่อไป

การดำเนินนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

ในขณะนี้ได้ผ่าน
ขั้นตอนระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
แห่งชาติ

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2544

เงินกองทุนหมู่บ้านจะเริ่มลงหมู่บ้านครั้งแรกในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.

2544
นอกจากนี้ ยังมีโครงการต่อเนื่องจากโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองคือ

"โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์"
เพื่อให้แต่ละชุมชนได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้า

โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่
และการบริหารจัดการเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยระบบร้านค้า

เครือข่ายและอินเตอร์เน็ต


ผลการดำเนินงานนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในปัจจุบัน

(26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545) สรุปได้ดังนี้
1.

การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

ได้ไปขอขึ้นทะเบียนเพื่อจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมืองแล้ว จำนวน

74,215
กองทุน คิดเป็นร้อยละ 98.23 ของหมู่บ้านและชุมชนเป้าหมาย 75,547

กองทุน
2. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้รับการอนุมัติและจัดสรรโอนเงินแล้ว

73,941 กองทุน คิดเป็น ร้อยละ 97.87 ของหมู่บ้าน
และชุมชนเป้าหมาย (75,547)

กองทุน โดยแยกเป็นกองทุนหมู่บ้าน 71,247 กองทุน และกองทุนชุมชนเมือง 2,694

กองทุน
3. การเบิกจ่ายเงินกองทุน

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้ปล่อยเงินกู้ให้สมาชิก เพื่อนำไปพัฒนา อาชีพ

สร้างงาน สร้างรายได้
ลดรายจ่าย และบรรเทาเหตุฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วนแล้ว จำนวน

5,931,564 ราย รวมเป็นเงิน 78,613.24 ล้านบาท

วัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินกองทุน จำแนกได้ดังนี้
(1)

การเกษตรร้อยละ 71.91
(2) ค้าขายร้อยละ 16.33
(3) อุตสาหกรรมร้อยละ

4.08
(4) การบริการร้อยละ 3.99
(5) บรรเทาเหตุฉุกเฉินร้อยละ 1.96
(6)

กิจกรรมกลุ่มร้อยละ 1.50
(7) อื่น ๆ ร้อยละ 0.23

การชำระคืนเงินกู้

พบว่าสมาชิกกองทุนที่ขอกู้เงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

เพื่อไปลงทุนในการประกอบกิจกรรม
ซึ่งส่วนใหญ่ กำหนดให้มีการชำระคืนภายใน 1 ปี

แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้บางส่วนจะยังไม่ถึงกำหนดชำระคืน

สมาชิกกองทุน
ต่างก็เริ่มทยอยในการส่งคืนเงินกู้แล้ว โดยมีการชำระคืนเงินต้น

จำนวน 2,469,324 ราย รวมเป็นเงิน 5,190.83 ล้านบาท
และดอกเบี้ย จำนวน 2,391,494

ราย รวมเป็นเงิน 1,031.76 ล้านบาท

จากการติดตามประเมินผลการส่งคืนเงินของผู้กู้

โดยกรมการพัฒนาชุมชนพบว่าสมาชิกที่ครบกำหนดชำระคืนเงินงวด

สามารถ
นำเงินงวดมาส่งชำระกับคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านครบตามกำหนดทุกครั้งร้อยละ

89.1 โดยร้อยละ 70.7 ชำระคืนครั้งเดียว
หมด และอีกร้อยละ 29.3 ชำระคืนเป็นงวดๆ ทั้งนี้ ร้อยละ 10

ของผู้กู้ส่งคืนตรงตามกำหนดเวลาเป็นครั้งคราวมีเพียงร้อยละ

1
เท่านั้นที่ไม่สามารถ ส่งคืนเงินได้ตามกำหนดเวลา

สำหรับแหล่งเงินที่นำมาชำระคืนส่วนใหญ่ร้อยละ 63

ได้จากอาชีพที่กู้ ที่เหลือจะนำมาจากเงินสะสมในครอบครัวร้อยละ

19.1
เงินจากรายได้อื่นของครอบครัวร้อยละ 10.1

และกู้จากแหล่งอื่นมาชำระคืนอีกร้อยละ 7


นโยบายการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา

3 ปี

โครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย

เป็นโครงการที่ดำเนินงานผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและ
สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

จุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินและความยากจนให้กับเกษตรกรรายย่อย

ให้เกษตรกรรายย่อย
สามารถมีเงินออมเพื่อใช้ในการลงทุนพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น

ธ.ก.ส. เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการโครงการ
พักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกร

โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา

ธ.ก.ส.
ใช้วิธีการลงพื้นที่เรียกประชุมกลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส.

เพื่อให้เกษตรกรตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมโครงการหรือไม่

ซึ่งเกษตรกรที่จะเข้าร่วม
โครงการจะต้องมีหนี้เงินกู้ ไม่เกิน 100,000 บาท ณ

วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2544

ไม่รวมหนี้เงินกู้ที่เกิดจากโครงการ
สินเชื่อตามนโยบายรัฐและไม่รวมดอกเบี้ยเงินกู้)

และต้องแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.

2544
โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถเลือก ที่จะรับความช่วยเหลือได้ 2

แนวทาง คือ แนวทางที่หนึ่ง เกษตรกรขอพักชำระหนี้
แนวทางที่สอง

เกษตรกรขอลดภาระหนี้สิน ซึ่งมี รายละเอียดดังนี้


แนวทางที่ 1 ขอพักชำระหนี้

เกษตรกรรายย่อยที่ขอพักชำระหนี้จะได้รับการพักชำระเงินต้นและ ดอกเบี้ยตลอดระยะเวลา

3 ปี
จาก ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ 1 เม.ย. พ.ศ. 2544 - 31 มี.ค. พ.ศ. 2547)

โดยในส่วนของดอกเบี้ยที่เกษตรกรจะต้องจ่ายในช่วงเวลา
การพักชำระหนี้รัฐบาลจะเป็นผู้รับภาระจ่ายดอกเบี้ยให้กับ

ธ.ก.ส.

เมื่อครบกำหนดพักชำระหนี้เกษตรกรจะต้องชำระเงินต้น
และดอกเบี้ยในอัตราเดิมก่อนเข้าร่วมโครงการ

เกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการแล้วจะไม่มีสิทธิกู้เงินเพิ่มจาก ธ.ก.ส.

ได้อีก
ตลอดระยะเวลา 3 ปี

แต่รัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูอาชีพให้แก่เกษตรกรภายใต้

"โครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรภายหลัง
การพักชำระหนี้"

โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ เกษตรกรที่เข้าร่วม

โครงการจะต้องจัดทำแผน
การออมเงินตามกำลังความสามารถของตนเองกับ ธ.ก.ส.

ให้สอดคล้องกับโครงการฟื้นฟูอาชีพหลังการพักชำระหนี้เพื่อป้องกัน
การใช้เงินโดยไม่เหมาะสมและสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับครอบครัวและสมาชิก

หากเกษตรกรรายย่อยต้องการออกจาก
โครงการพักชำระหนี้เพื่อเปลี่ยนไปขอรับความช่วยเหลือในรูปแบบการขอลดภาระหนี้สินได้

โดยมีเงื่อนไขว่าเกษตรกรรายนั้น
จะต้องอยู่ในโครงการพักชำระหนี้มาไม่น้อยกว่า 1 ปี

นอกจากนี้เกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
เพิ่มจากอัตราปกติที่

ธ.ก.ส. จ่ายให้อีกร้อยละ 1 ต่อปี ในจำนวนเงินฝาก ไม่เกินรายละ 50,000 บาท

บทลงโทษสำหรับเกษตรกร
ที่ไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไขของโครงการพักชำระหนี้คือจะถูกให้ออกจากโครงการและต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ยแก่

ธ.ก.ส.
ตามเกณฑ์ลูกค้าชั้น B บวกด้วยเบี้ยปรับอีกร้อยละ 3 ต่อปี

แนวทางที่ 2 ขอลดภาระหนี้

เกษตรกรรายย่อยที่เลือกรับความช่วยเหลือนี้จะได้รับการชดเชยอัตราดอกเบี้ยจากรัฐบาล
ในอัตราร้อยละ

3 ต่อปี ตลอดระยะเวลา 3 ปี (ตั้งแต่ 1 เม.ย. พ.ศ. 2544 - 31 มี.ค. พ.ศ. 2547)

กล่าวคือ รัฐบาลจะช่วยเกษตรกร
จ่ายดอกเบี้ยให้แก่ ธ.ก.ส. ตัวอย่างเช่น

ลูกค้าชั้น AAA จะได้รับการลดอัตราดอกเบี้ยจากอัตราปกติร้อยละ 8 ต่อปี เหลือร้อยละ 5 ต่อปี เป็นต้น เกษตรกร

ที่ขอลดภาระหนี้มีสิทธิที่จะขอกู้เงินเพิ่มใหม่ได้ในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท

กู้ฉุกเฉินพิเศษ
ในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท

นอกจากนี้เกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มจากอัตราปกติ
ที่

ธ.ก.ส. จ่ายให้อีกร้อยละ 1 ต่อปี ในจำนวนเงินฝากไม่เกินรายละ 50,000 บาท

แต่เกษตรกรที่ขอลดภาระหนี้จะไม่สามารถ
เปลี่ยนการรับความช่วยเหลือเป็นการขอพักชำระหนี้ได้ในภายหลังเพื่อเป็นการป้องกันเกษตรกรที่มีเจตนาไม่สุจริตซึ่งจะเป็นภาระ
แก่รัฐบาลในการจัดสรรงบประมาณและควบคุม

ดูแลในกรณีที่เกษตรกรที่ขอลดภาระหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด
จะถูกให้ออกจากโครงการ

และเสียดอกเบี้ยตามเกณฑ์ โครงสร้างดอกเบี้ยของ ธ.ก.ส.

ในการดำเนินนโยบายพักชำระหนี้
และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยรัฐบาลได้ตั้งเงินงบประมาณ

ในการดำเนินการในปีงบประมาณ 2544 จำนวน 6,000
ล้านบาท

เพื่อจ่ายเป็นค่าชดเชยดอกเบี้ยแทนเกษตรกรรายย่อยให้แก่ ธ.ก.ส. ในปีแรก

จำนวนเกษตรกรรายย่อยที่อยู่ในหลักเกณฑ์
การได้รับการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ทั้งประเทศ

2,379,788 ราย หรือร้อยละ 83 ของเกษตรกรทั้งหมดที่เป็นลูกหนี้ของ
ธ.ก.ส.

รวมเป็นวงเงิน 94,056 ล้านบาท

จำนวนเกษตรกรรายย่อยที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ผ่าน

ธ.ก.ส.
ตั้งแต่เริ่มโครงการถึงปัจจุบัน (30 พฤษภาคม พ.ศ. 2544) มีจำนวน

1,754,295 คน คิดเป็นร้อยละ 73.72

ของเกษตรกร
รายย่อยทั้งหมดที่เข้าข่ายการได้รับความช่วยเหลือ

ในจำนวนเกษตรกรที่ขอเข้าร่วมโครงการแบ่งเป็นเกษตรกรที่ขอพักชำระหนี้
845,631 ราย

เกษตรกรที่ขอลดภาระหนี้สิน 908,664 ราย


ธนาคารประชาชน

โครงการธนาคารประชาชนเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลปัจจุบัน

เพื่อให้คนจนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้สะดวกขึ้น
ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำเงินทุนดังกล่าวไปประกอบอาชีพ

ธนาคารออมสินเป็นหน่วยงานที่รัฐบาลกำหนดให้จัดตั้งโครงการ
ธนาคารคนจนขึ้น

เพื่อตอบสนองความต้องการเงินทุนของประชาชนทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระรายย่อย

โดยการให้บริการด้าน
การออมทรัพย์

บริการด้านสินเชื่อที่มีเงื่อนไขไม่ยุ่งยากในวงเงินที่เพียงพอต่อความจำเป็น

ตลอดจนบริการด้านการเงินในรูปแบบ
อื่นๆ ตามความต้องการ

นอกจากนี้ยังจัดให้มีบริการให้การฝึกอบรมที่จำเป็น

ให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาทั้งทางด้านการเงิน
อาชีพ และด้านอื่น ๆ

เป็นพิเศษแก่ลูกค้าที่เป็นสมาชิกของโครงการธนาคารประชาชนด้วย

ผู้ที่จะขอกู้เงินกับโครงการธนาคารประชาชนจะต้องเป็นผู้ประกอบการรายย่อย

ผู้ที่มีรายได้ประจำ หรือผู้ที่ยังไม่ได้ประกอบอาชีพ
ใดๆ

แต่ต้องมีถิ่นที่อยู่อาศัยแน่นอน สามารถสมัครเข้าโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 25

มิถุนายน พ.ศ. 2544 โดยเปิดบัญชีเงินฝาก
ประเภทเผื่อเรียกในชื่อผู้สมัคร 1 บัญชี

ลูกค้าสามารถ ขอกู้เงินได้หลังจากที่มีเงินฝากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2

เดือน
แต่สำหรับลูกค้าที่มีเงินฝากอยู่กับธนาคารออมสินอยู่ก่อนแล้ว (มากกว่า 2

เดือน) สามารถกู้เงินได้ทันจำนวนเงินกู้ธนาคาร
จะให้กู้ตามวงเงินที่ต้องใช้จริง

ที่จะนำไปประกอบอาชีพและตามความสามารถที่ลูกค้าสามารถชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยได้
โดยวงเงินกู้ปีแรก

ไม่เกิน 15,000 บาท วงเงินกู้ครั้งต่อไปไม่เกินรายละ 30,000 บาท

ในกรณีที่ลูกค้าขอกู้เงินมากกว่า 30,000
บาท ให้ใช้หลักทรัพย์ตามที่ธนาคารกำหนด

โดยธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน

การกู้เงินจากโครงการ
ธนาคารประชาชนจะต้องมีหลักทรัพย์

หรือบุคคลที่เข้าร่วมโครงการค้ำประกัน 2 คน หรือข้าราชการ

พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ที่มีตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ค้ำประกัน

การผ่อนชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยภายในระยะเวลาไม่เกิน 13

งวด
โดยวิธีหักจากบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้กับธนาคาร

สิทธิพิเศษของผู้ที่ได้รับอนุมัติเงินกู้จะได้รับการประกันอุบัติเหตุในวงเงินไม่เกิน
100,000

บาท ทั้งนี้ธนาคารออมสินได้เริ่มดำเนินโครงการ ธนาคารประชาชน เมื่อวันที่ 25

มิถุนายน พ.ศ. 2544



สรุปข้อมูลธนาคารประชาชน



ภาค
การรับสมาชิก

สมาชิกรวม
สมาชิกที่ขอกู้

ราย
เงินฝาก

(บาท)
ราย
ร้อยละของสมาชิกรวม

กทม.

+ ปริมณฑล
106,593
209,325,900.17
93,440
87.66

ภาคกลาง
107,030
277,758,626.72
83,049
77.59

ภาคเหนือ
97,675
315,866,544.99
92,044
94.23

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
153,879
468,477,656.20
127,509
82.86

ภาคใต้
72,154
209,397,537.57
60,693
84.12

รวม
537,331
1,480,826,265.65
456,735
85.00


ภาค
การอนุมัติสินเชื่อ

ราย
จำนวนเงิน (บาท)
ร้อยละ

ของสมาชิกรวม
ของสมาชิกที่ขอกู้

กทม. +

ปริมณฑล
79,372
1,219,331,809.00
74.46
84.94

ภาคกลาง
74,714
1,215,554,854.00
69.81
89.96

ภาคเหนือ
84,565
1,432,518,748.00
86.58
91.87

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
110,589
1,825,358,720.00
71.87
86.73

ภาคใต้
55,897
919,179,472.00
77.47
92.10

รวม
405,137
6,611,943,603.00
75.40
88.70


ภาค
สินเชื่อคงเหลือ
ชำระคืน

(บาท)

ราย
เงิน

(บาท)

กทม.

+ ปริมณฑล
61,551
587,424,105.20
631,907,703.80

ภาคกลาง
56,270
570,769,601.63
644,785,252.37

ภาคเหนือ
56,529
727,475,937.75
705,042,810.25

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
80,278
898,023,041.30
927,335,678.70

ภาคใต้
42,580
569,075,401.63
450,104,070.37

รวม
297,208
3,252,768,087.51
3,359,1754,515.49



นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค)

เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
ชาวไทยที่มีสิทธิในการได้รับการบริการทางด้านสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน

มีความเท่าเทียม และทั่วถึงกัน นอกจากนี้ผู้ยากไร้
มีสิทธิ

ได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

โดยรัฐบาลมีหลักการและเหตุผลในการเสนอนโยบายนี้เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณาสุขของประชาชนที่ยากจนและมีรายได้
น้อย

เพราะจากข้อมูลพบว่าค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขของคนไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยมีสัดส่วนถึงประมาณร้อยละ
60 ของยอดรวมค่าใช้จ่ายสาธารณสุขทั้งหมด

โดยโครงการประกันสุขภาพใหม่ที่ทางรัฐบาลจัดให้นี้

ประชาชนจะจ่ายค่ารักษา
พยาบาลเพียงครั้งละ 30 บาท

ประกอบกับโครงการสงเคราะห์คนยากจนและผู้มีรายได้น้อยทางด้านสาธารณสุขในอดีต
ไม่ประสบความสำเร็จทั้งในด้านการบริหารจัดการและการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

หลักการพื้นฐานในการดำเนินโครงการเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับและเป็นเจ้าของร่วมกัน

และประชาชน
ต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิในการรับบริการที่มีคุณภาพ

โดยในอนาคตสามารถเลือกขึ้นทะเบียนกับสถานบริการปฐมภูมิ
ิที่ตนพึงพอใจได้เอง

และสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการทั้งภาครัฐและเอกชนจะมีการรับรองคุณภาพ (Quality

Accreditation)
โดยจะต้องให้

ความสำคัญกับระบบบริการปฐมภูมิเป็นสถานบริการด่านแรก (Primary care gatekeeper)

สำหรับการบริหาร-จัดการจะต้องทำ

ในลักษณะเครือข่ายทั้งระหว่างภาครัฐด้วยกันเองและภาครัฐกับเอกชน

ให้มีระบบการคลังที่สามารถ
ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ในระยะยาว (Cost containment

system)

โดยไม่กระทบต่อคุณภาพและการเข้าถึงบริการของประชาชน
และไม่เกิดการใช้และให้บริการมากเกินความจำเป็น

รูปแบบการจ่ายเงินแก่สถานบริการต้องเป็นการจ่ายแบบปลายเปิด
และเป็นการจ่ายเงินแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การดำเนินงาน

(performance related payment)

ในส่วนของสิทธิประโยชน์
และรูปแบบหรือกลไกการจ่ายเงินแก่ผู้ให้บริการจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันในระบบประกันสุขภาพ

และตั้งเป้าหมายไว้ว่า
ระบบประกันสุขภาพในอนาคตจะเป็นระบบกองทุนเดียว

การดำเนินงานที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้แต่งคณะทำงานชุดต่างๆ

รวมทั้งสิ้น 10 คณะ เพื่อทำการศึกษารายละเอียด
ขั้นตอน วิธีการ

ขององค์ประกอบที่เป็นปัจจัยนำเข้าสู่ระบบการดำเนินการ

และได้มีการออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุข
ว่าด้วยการสร้าง

หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี พ.ศ. 2544 ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์

เงื่อนไข
สิทธิประโยชน์ต่างๆ ในการดำเนินการนำร่องใน 6 จังหวัด

โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพที่มีบทบาทหน้าที่
ในการกำหนดนโยบายและมาตรฐานการดำเนินงานในด้านต่างๆ

ตลอดจนการควบคุม กำกับติดตามและประเมินผล
การดำเนินงาน

และระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการสร้างหลักประกันสุขภาพ ฉบับที่ 3

กำหนดให้มีคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพจังหวัด

มีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาสุขภาพของพื้นที่ให้สอดคล้องกับนโยบาย
และแผนด้านสุขภาพของประเทศ

จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในการพัฒนาสุขภาพในพื้นที่

กำหนดหลักเกณฑ์
และจัดสรรทรัพยากรด้านสุขภาพให้แก่หน่วย เครือข่ายบริการ

ตามกรอบนโยบายที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ
ส่วนกลางกำหนด โดยระเบียบฯ ฉบับที่

3 นี้

ได้ยุบรวมผู้มีสิทธิตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยสวัสดิการประชาชน
ด้านการรักษาพยาบาล

ผู้มีสิทธิตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินอุดหนุนโครงการรักษาพยาบาลผู้มีรายได้น้อย
และผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล

และบุคคลผู้มีสิทธิตามระเบียบกระทรวง

สาธารณสุขว่าด้วยบัตรประกันสุขภาพ
ให้เข้าสู่การคุ้มครองตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ

โดยเริ่มต้นโครงการนำร่องในพื้นที่ 6 จังหวัดแรก ในวันที่ 1

เมษายน พ.ศ. 2544 ได้แก่ พะเยา ยโสธร ปทุมธานี นครสวรรค์
สมุทรสาคร และยะลา

ภายใต้ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี พ.ศ. 2544

และระเบียบ
เงินอุดหนุนโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าใน 6 จังหวัด

ซึ่งเดิม 6 จังหวัดนี้ได้ดำเนินการภายใต้โครงการเงินกู้
เพื่อการลงทุนทางสังคม

(SIP) และในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้ขยายพื้นที่การดำเนินการออกไปอีก 15

จังหวัด ได้แก่
นนทบุรี สระบุรี สระแก้ว เพชรบุรี นครราชสีมา สุรินทร์

หนองบัวลำภู อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ สุโขทัย แพร่ เชียงใหม่
ภูเก็ต

และนราธิวาส ซึ่งในโครงการระยะที่ 2 นี้

ดำเนินงานภายใต้ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ
พ.ศ. 2544

ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคมในปีเดียวกัน

ได้ขยายการดำเนินการครอบคลุมไปยังทุกจังหวัดรวมกรุงเทพมหานคร 13

เขต
โดยมีการยุบและเลิกบัตร สปร.

แล้วเปลี่ยนเป็นบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้ายกเว้นค่าธรรมเนียม (ตามระเบียบฯ ฉบับที่

3)
และมีคำสั่งยุติการขายบัตรประกันสุขภาพ 500 บาท ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม

พ.ศ. 2544 (ตามระเบียบฯ ฉบับที่ 3)
แต่จะสามารถใช้ได้ต่อไปจนกว่าบัตรจะหมดอายุ

การดำเนินการในระยะที่ 3 นี้ถือว่าเป็นการยุบรวมโครงการที่ดำเนินการ
ระยะที่ 1 -

2 เข้ามาสู่ระบบเดียวกัน


ภายใต้การดำเนินโครงการดังกล่าว

ได้มีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (War Room)

เพื่อทำหน้าที่
ในการตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ การปรับปรุงนโยบาย โครงสร้าง

ระบบการทำงาน ระบบงบประมาณ ระเบียบ

คำสั่ง
และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้สอดคล้องกันเพื่อดำเนินการในขั้นต่อไป

และควบคุมกำกับ
การดำเนินงานตามแผนงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในภาพรวม

และพิจารณาข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์
ที่จะเผยแพร่

แก่สาธารณชนทราบและเข้าใจเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

นอกจากนี้
ยังได้จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน (Call center)

เพื่อให้คำแนะนำตลอดจนแก้ไขปัญหาในการใช้บริการ
ให้กับประชาชนทางโทรศัพท์

และมีแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

เพื่อทำหน้าที่ในการ
ให้ข้อเสนอแนะและคำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี

ในด้านนโยบายแห่งชาติเกี่ยวกับการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ในด้านต่างๆ

ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ที่เกี่ยวข้องขึ้นอีก 7 ชุดด้วยกัน



การให้บริการที่ผ่านมาได้ให้บริการแก่ประชาชนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหรือบุคคลที่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแต่อาศัยอยู่จริง
ในพื้นที่ที่โครงการกำลังดำเนินการอยู่

และไปขอขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

เพื่อให้หน่วยงานออกบัตร
ประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองและกำหนดโรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่เดียวกับที่อยู่ตามทะเบียนบ้านเป็นโรงพยาบาลประจำ
ครอบครัว

โดยในแต่ละครั้งที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่กำหนดจะเสียค่าใช้จ่าย 30

บาท ยกเว้นการรับบริการ
ส่งเสริม สุขภาพ การป้องกันโรคและการควบคุมโรค

ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน (ไม่เกิน 2 ครั้ง/ปี)

ผู้ถือบัตร
ประกันสุขภาพ ถ้วนหน้าสามารถไปใช้สถานพยาบาลอื่นได้

แต่ต้องแจ้งสถานพยาบาลที่ระบุไว้ในบัตรภายใน 72 ชั่วโมง หรือ 3
วันเพื่อให้โรงพยาบาล ประจำไปรับมารักษา และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

หากไม่มีการแจ้งตามระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าว
ผู้ถือบัตรจะต้องรับผิดชอบ

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเอง

คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติงบประมาณสำหรับดำเนินโครงการนำร่องเป็นวงเงินทั้งสิ้น

399,791,700 บาท โดยให้จ่ายจาก
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปี พ.ศ. 2544

โดยการจัดสรรงบประมาณจะต้องจัดสรรแบบเหมาจ่ายต่อหัวตามจำนวน
การขึ้นทะเบียนผู้มีสิทธิ์ที่เป็นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ที่จังหวัดส่งให้สำนักงานประกันสุขภาพตรวจสอบความถูกต้อง

โดยกำหนด
อัตราเหมาจ่ายรายหัว 477 บาทต่อปี

งบประมาณในระยะที่ 2

มีการศึกษาต้นทุนต่อคนในการจัดบริการและพบว่าต้นทุนการจัดบริการอยู่ที่ 1,202

บาทต่อคนต่อปี
โดยในปี งบประมาณ พ.ศ. 2545

รัฐได้จัดสรรงบเพื่อดำเนินงานตามโครงการฯ จำนวน 54,160 ล้านบาท

ต่อมาคณะกรรมการ
พิจารณา

ต้นทุนอัตราเหมาจ่ายรายหัวประชากรในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ได้เสนอตัวเลขงบเหมาจ่ายไว้ที่ 1,414
บาทต่อคน ทำให้คาดว่าในปี พ.ศ. 2546

ต้องใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้นในโครงการ 63,630 ล้านบาท เพิ่มจากปี พ.ศ. 2545
จำนวน

9,470 ล้านบาท

ผลการดำเนินงานในช่วงสามเดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2545

มีบัตรที่มีปัญหาซ้ำซ้อนมากกว่าร้อยละ 10 แต่ค่อยๆ ลดลง
เหลือประมาณร้อยละ 7 ใน

3 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2545 โดยมีสาเหตุจาก

ผู้มีสิทธิ์ต้องการรักษาสิทธิ์หลายอย่างเนื่องจาก
ไม่มีสิทธิ์ใดที่ดีกว่าสิทธิ์อื่นในทุกด้าน

นอกจากนี้การออกบัตรโดยพึ่งทะเบียนราษฎร์เป็นหลัก

ทำให้ยังมีปัญหาการเข้าไม่ถึง
กลุ่มคนจนที่สุด กลุ่มเร่ร่อนและย้ายถิ่น

ชาวเกาะและชาวเล

หรือแม้กระทั่งผู้ที่อยู่อาศัยในเขตเมืองที่ไม่มีบัตรประชาชน
และยังมีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความถูกต้องในเรื่องสัญชาติ

การดำเนินการใน 75

จังหวัดในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2545

พบว่าอัตราการมารับบริการของผู้ป่วยนอก
ที่โรงพยาบาลชุมชนเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งเท่าตัวจาก

1.1 ครั้งต่อคนต่อปี (ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2544) เป็น
2.3

ครั้งต่อคนต่อปี สำหรับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เพิ่มจาก 2.5 ครั้งต่อคนต่อปี เป็น 2.8

ครั้งต่อคนต่อปี ในขณะที่อัตราการรับ
ผู้ป่วยในมีประมาณร้อยละ 11 ซึ่ง

ใกล้เคียงกับปีก่อน

การบริหารจัดการในส่วนกลางมีปัญหาเนื่องจากการให้อำนาจบริหารโครงการฯ

แบบเบ็ดเสร็จแก่ ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข
ทำให้โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค

ถูกผลักดันแยกจากโครงการอื่นๆ

ซึ่งผู้บริหารดังกล่าวไม่ได้มีอำนาจในโครงการอื่นๆ
มีผลทำให้การร่าง

พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีทิศทางไม่ชัดเจนตามไปด้วย

และยังทำให้ภาพรวมของสถานพยาบาล
ขาดเอกภาพ เพราะผู้ให้บริการรายอื่นๆ

ที่ไม่ใช่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเกรงว่าอำนาจการบริหารที่กระทรวงฯ
มีเหนือโครงการฯ

จะกลายเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ปกป้องผลประโยชน์ทั้งทางการเงินและการแก้ไขปัญหาต่างๆ

ของกระทรวงฯ
นอกจากนี้การรับเป็นนายทะเบียนฐานข้อมูลประชากรในระยะเริ่มต้นของกระทรวงสาธารณสุขทำให้มีปัญหาในเรื่องการจัดการ
ค่อนข้างมาก

ตลอดจนระเบียบแนวทางปฏิบัติเรื่องการเงินและบัญชียังขาดความชัดเจน

และการขาดการจัดการที่เป็นระบบของ
กองทุน ที่เก็บสมทบไว้ ส่วนกลาง ได้แก่

เงินที่หักสำหรับจ่ายกรณีค่าบริการทางการแพทย์ที่มีค่าใช้จ่ายสูง

และกรณีฉุกเฉิน
นอกจากนี้ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องการจัดสรรงบประมาณให้กับการดำเนินงานโครงการในปี

พ.ศ. 2546 และสุดท้าย
การให้สถานพยาบาลเป็นหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนของประชาชน

อาจจะก่อให้เกิดปัญหาการขัดกันของผลประโยชน์ได้


ปัญหาที่พบในการบริหารจัดการในส่วนภูมิภาค คือ

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลเครือข่ายยังขาดความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ

ตลอดจนความพร้อมในเรื่องฐานข้อมูลประชากรกลุ่มเป้าหมาย

ปัญหาอื่นๆ คือ

ประชาชนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขในการใช้บริการโครงการ

ทำให้มีการข้าม
ขั้นตอนการใช้บริการมาก

และประเด็นเรื่องคุณภาพของการให้บริการที่หลายฝ่ายระบุว่าโครงการ 30

บาทรักษาทุกโรค
เป็นโครงการ ชั้นสาม

ซึ่งอาจจะชักนำให้มาตรฐานของโรงพยาบาลของรัฐลดต่ำลงในอนาคต

จุดเด่นในการบริหารโครงการในส่วนกลาง ได้แก่

การแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ

ตลอดจนการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติหลักประกัน
สุขภาพถ้วนหน้า (War room)

มีความรวดเร็ว เพราะไม่ต้องผ่านกลไกปกติของราชการ

ประการต่อมาการบริหารโครงการฯ
แยกจากโครงการประกันสังคมและโครงการสวัสดิการข้าราชการตั้งแต่ในระยะแรก

มีส่วนช่วยให้โครงการนี้ดำเนินการไปได้
อย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้โดยเฉพาะการส่งต่อข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต

โดยไม่ต้องผ่านสาธารณสุข
จังหวัด

ทำให้ข้อมูลเดินทางเข้าสู่ส่วนกลางได้อย่างรวดเร็วกว่าเดิม

และสุดท้ายการที่ส่วนกลางให้ความสำคัญกับสิทธิ
และการร้องเรียนของประชาชนมากขึ้น

นับเป็นปรากฎการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในระบบบริการสาธารณสุข

จุดเด่นในการบริหารจัดการในส่วนภูมิภาค ได้แก่

การสร้างความร่วมมือกันระหว่างสถานีอนามัยและโรงพยาบาล
ในเรื่องการวางแผน

การทำงานร่วมกัน และการพัฒนาศักยภาพของสถานีอนามัย

จากระบบการให้โรงพยาบาลต่างๆ
ถือเงินของสถานีอนามัยในพื้นที่

รับผิดชอบของโรงพยาบาล

มีผลให้สถานีอนามัยหลายแห่งมีคุณภาพการให้บริการที่สูงขึ้น
และทำให้ได้รับความสนใจจากประชาชนมากขึ้น

ซึ่งในหลายพื้นที่ทำให้โรงพยาบาลมีภาระผู้ป่วยนอกลดลง

ประเด็นที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ ได้แก่

ควรให้ประชาชนมีสิทธิในการเลือกโรงพยาบาลเองหรือไม่

และจะมีแนวทางการจัดการ
งบประมาณเกี่ยวกับโครงการนี้อย่างไรในอนาคต

นอกจากนี้ควรรวมกองทุนหลักประกันสุขภาพที่กระจายอยู่ในหลายหน่วยงาน
ให้เป็นกองทุนเดียวกันหรือแยกกันบริหารดังเช่นในปัจจุบัน

และจะกำหนดบทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในระยะยาวอย่างไร
ตลอดจนประเด็นการผูกเงินเดือนของบุคลากรทางการแพทย์ไว้กับยอดเหมาจ่ายในการรักษาพยาบาลมีความเหมาะสมหรือไม่

นอกจากนี้มีการตั้งข้อสังเกตว่ารัฐบาลยังไม่มีจุดยืนที่แน่ชัดระหว่างการต้องการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้เป็น
"สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนชาวไทย"

กับการเป็น "โครงการช่วยเหลือคนจน"

(ข้อมูลส่วนใหญ่รวบรวมจากรายงานวิจัยเรื่อง

การติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ "30 บาทรักษาทุกโรค"
ของกระทรวงสาธารณสุข

โดย วิโรจน์ ณ ระนอง และ ผศ.ดร.อัญชนา ณ ระนอง และคณะ (2545) และ

รายงานผลการดำเนินงาน
สร้างหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนไทยในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ฉบับที่ 8 โดยสำนักงานประกันสุขภาพ
(2545)


โครงการหนึ่งตำบล

หนึ่งผลิตภัณฑ์

เป็นหนึ่งในโครงการเร่งด่วนของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ต้องการสร้างสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ที่มาจากท้องถิ่น

ให้ชุมชนสามารถ
ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับทั้งจากภายในและภายนอกประเทศจากวัตถุดิบและภูมิปัญญาภายในท้องถิ่น

เพื่อสร้างงาน
และสร้างรายได้ขึ้นภายในท้องถิ่นและเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้อีกทางหนึ่ง

โดยรัฐจะให้การสนับสนุนในเรื่องความรู้
ู้สมัยใหม่

การบริหารจัดการและเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนเพื่อจัดจำหน่ายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

ซึ่งได้กำหนดระเบียบ
สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล

หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (กอ.นตผ.) พ.ศ. 2544 โดยมี
นายปองพล อดิเรกสาร

รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ กอ.นตผ.

การจัดกลไกการบริหารโครงการหนึ่งตำบล

หนึ่งผลิตภัณฑ์


มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล

หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ.)

เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายยุทธศาสตร์
และแผนแม่บทในการดำเนินงาน

นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกและขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์
ดีเด่นของตำบล

และสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบาย

ยุทธศาสตร์และแผนแม่บทอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการตั้ง
คณะอนุกรรมการขึ้นมาอีก 9

ชุด

ขั้นตอนการบริหารเริ่มจากในระดับตำบล (อบต./ท้องถิ่น)

จะชี้แจงแนวคิด

และจัดประชาคมเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ดีเด่นของตำบล
ให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

วัตถุดิบในท้องถิ่น และแผนชุมชน เพื่อเสนอให้กับระดับอำเภอ

ซึ่งในระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ
(นตผ.อำเภอ/กิ่งอำเภอ)

จะจัดลำดับผลิตภัณฑ์ดีเด่นตำบลต่างๆ ของอำเภอหรือกิ่งอำเภอ

ตลอดจนบูรณาการแผนและงบประมาณ
เพื่อให้การสนับสนุน ในขณะที่ระดับจังหวัด

(นตผ.จังหวัด) จะจัดลำดับผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับอำเภอต่างๆ ของจังหวัด

และบูรณาการ
แผนและงบประมาณ โดยในส่วนกลาง (กอ.นตผ.)

จะทำหน้าที่หลักในการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกและขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์ดีเด่น
ของตำบล

และสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในบัญชีให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์และแผนแม่บท

การดำเนินงานที่ผ่านมา

มีผลิตภัณฑ์ดีเด่นที่ได้รับการคัดเลือกโดยผ่านกระบวนการประชาคมในระดับตำบลจำนวน

6,358 ผลิตภัณฑ์

ซึ่งในจำนวนนี้
ถูกคัดเลือกเป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับจังหวัดจำนวน 925 ผลิตภัณฑ์

และมีผลิตภัณฑ์ที่จะประกาศขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ จำนวน

461 รายการ นอกจากนี้มีการบูรณาการบัญชีผลิตภัณฑ์เด่นของหน่วยงานต่างๆ

ซึ่งมีหลายหน่วยงาน
ดำเนินการให้เป็นบัญชีหลักเพียงบัญชีเดียว

ยอดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนก่อนเริ่มนโยบายหนึ่งตำบล

หนึ่งผลิตภัณฑ์
ระหว่างเดือนมกราคม - ธันวาคม พ.ศ. 2544 มีจำนวน 216 ล้านบาท

ภายหลังการดำเนินโครงการหนึ่งตำบล

หนึ่งผลิตภัณฑ์
แล้วปรากฏว่ามียอดจำหน่ายระหว่างเดือนมกราคม - ธันวาคม พ.ศ. 2545

รวม 23,987 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าประมาณการรายได้
ในปี พ.ศ. 2545

ที่ตั้งเป้าหมายไว้ 10,906 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 219.94 ของประมาณการรายได้ปี

พ.ศ. 2545 และมีรายได้
จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใน 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2546

มีจำนวน 7,236 ล้านบาท สำหรับผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับมาตรฐาน
เช่น มาตรฐาน อย. มอก.

ฮาลาล ฯลฯ ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545 มีจำนวน 4,065 ผลิตภัณฑ์

ในส่วนของการเชื่อมโยงเครือข่ายสินค้ากับตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ

ได้มีการจัดทำเว็บไซด์ไทยตำบลดอทคอมขึ้น
ซึ่งได้ดำเนินการเผยแพร่ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการ

กอ.นตผ. ไว้ในเว็บไซด์ดังกล่าว รวมทั้งนำข้อมูลของกลุ่มอาชีพ
ผลิตภัณฑ์ต่างๆ

ที่ได้รับการคัดสรรเป็นสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จากตำบลต่างๆ

เข้าระบบแล้วจำนวน 5,054 ตำบล
จำนวนสินค้าที่เข้าระบบจำนวน 16,797 รายการ

และสินค้าที่ดำเนินการเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้วมีจำนวน 1,181

รายการ

ในปี พ.ศ. 2546

มีเป้าหมายที่จะขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ นตผ. ที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ต่างๆ เช่น อย.

มอก. ฮาลาล และอื่นๆ
จำนวนไม่น้อยกว่า 3,500 ผลิตภัณฑ์ จากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่

จำนวน 6,358 ผลิตภัณฑ์

และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้รับคัดเลือก
เป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่นในจังหวัดเพิ่มเป็น

1,500 ผลิตภัณฑ์ จากเดิม 925 ผลิตภัณฑ์

นอกจากนี้จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับชาติ
ให้เพิ่มเป็นไม่น้อยกว่า 750

ผลิตภัณฑ์ จากเดิมที่ประกาศขึ้นบัญชีแล้ว 461 ผลิตภัณฑ์

นอกจากนี้จะยกระดับผลิตภัณฑ์ดีเด่น
ตามกลุ่มสินค้า 6 ประเภท ได้แก่

ผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอ จักสานและเส้นใยพืช อาหารและผลิตภัณฑ์สมุนไพร

เครื่องปั้นดินเผา
ศิลปหัตถกรรมและสุราแช่ และกลุ่มศิลปวัฒนธรรมและสถานที่บริการ

โดยจะส่งเข้าประกวด นตผ. ดีเด่นระดับจังหวัด และระดับ
ประเทศ

นอกจากนี้ยังมีแผนเพิ่มช่องทางด้านการตลาดให้มีแหล่งรวมและกระจายสินค้า นตผ.

ระดับภาค จำนวน 6 แห่ง และสร้าง
เครือข่ายด้านการตลาด จังหวัดละ 1 เครือข่าย รวม

75 เครือข่าย นอกจากนี้จะจัดให้มีช่องทางการตลาดในสถานที่อื่นๆ

เช่น
ห้างสรรพสินค้า แหล่งท่องเที่ยว ปั๊มน้ำมัน และสถานศึกษา จำนวน 18,000

แห่ง

นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายที่จะให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชนจำนวน

9,000 คน ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการจัดการ
และการพัฒนาผลิตภัณฑ์

และส่งเสริมการเป็นวิทยากรถ่ายทอดการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน จำนวน 6,000 คน



สำหรับการประชาสัมพันธ์และการเพิ่มช่องทางการตลาด

จะจัดระบบข้อมูลสินค้า นตผ. ทั่วประเทศ

เพื่อดำเนินการประชาสัมพันธ์
สินค้าและบริการบนเว๊บไซต์และอีคอมเมอร์ส

จำนวนไม่น้อยกว่า 3,500 ผลิตภัณฑ์

จากยุทธศาสตร์การดำเนินการดังกล่าวในปี พ.ศ. 2546

คาดว่าจะมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการจากโครงการ
หนึ่งตำบล

หนึ่งผลิตภัณฑ์ไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาทต่อปี

(ผลงาน 2 ปี ของพรรคไทยรักไทย))

ประเทศทุกประเทศจะต้องจัดการเรื่องระเบียบการปกครอง การบริหารงานระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความสะดวกให้แก่ประชาชน รัฐจึงออกกฎหมายการปกครองออกมาใช้บังคับประชาชน
ความหมายของกฎหมายการปกครองในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ โดยวิธีการแบ่งอำนาจการบริหารงานตั้งแต่สูงสุดลงมาจนถึงระดับต่ำสุด เป็นการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของราชการผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร
โดยหลักทั่วไปทางวิชาการกฎหมายการปกครอง ได้จัดระเบียบการปกครองประเทศหรือที่เรียกว่า จัดระเบียบราชการบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ


การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization)
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หมายถึง การจัดระเบียบการปกครอง โดยรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและต่างจังหวัดไดรับการแต่งตั้งถอดถอนและบังคับบัญชาจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนดขึ้น เช่น การปกครองที่แบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เป็นต้น
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง การจัดระเบียบการ ปกครองโดยวิธีการยกฐานะท้องถิ่นหนึ่งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้วให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระโดยการบริหารส่วนกลางจะไม่เข้ามาบังคับบัญชาใด ๆ นอกจากคอยดูแลให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายในขอบเขตของกฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นเท่านั้น เช่น การปกครองของเทศบาลในจังหวัดต่าง ๆ เทศบาลกรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
กฎหมายการปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ได้ใช้รูปแบบการปกครอง ทั้งประเภทที่กล่าวมาแล้ว คือ ใช้ทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงานของราชการ ให้มีสมรรถภาพ การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฎบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างส่วนราชการต่างๆและเพื่อให้การบริหารในระดับต่างๆมีเอกภาพสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนดได้ดี
ดังนั้น รัฐบาลจึงออกกฎหมายการปกครองขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พอสรุปดังนี้
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรม-เนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้

สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง
ทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
การจัดตั้ง ยุบ ยกเลิก หน่วยงาน ตามข้อ 1- 4 ดังกล่าวนี้ จะออกกฎหมายเป็น พระราชบัญญัติและมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดแบ่ง กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง รวม 20 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธรณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง อยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของนากยรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นเครี่องของนากยรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นหัวใจของการบิหารราชการหรือเกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดินและราชการอื่น ตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการอื่น ๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะ
สำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกันนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติก็ได้
กระทรวง หมายถึง ส่วนราชการที่แบ่งออกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่สุด รับผิดชอบงานที่กำหนดในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการกระทรวง จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
กระทรวงหนึ่งๆมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนัมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ให้มีปลัดกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจะในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงจากรับมนตรี โดยมีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งการและปฏิบัติราชการแทน การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้

(1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี

(2) สำนักงานปลัดกระทรวง

(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้

ทบวง เป็นหน่วยงานที่เล็กกว่ากระทรวง แต่ใหญ่กว่า กรม ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 25 ว่า ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรสงหรือทบวง ซึ่งเทียบเท่ากระทรวงจะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงเพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวงและมีปลัดทบวง ซึ่งรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้และมีอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม การจัดระเบียบราชการในทบวง มีดังนี้

(1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี

(2) สำนักงานปลัดทบวง

(3) กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้ส่วนราชการตาม (2) (3) มีฐานะเป็น กรม

กรม หมายถึง เป็นส่วนราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงหรืออาจเป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอยู่ใต้การบังคับบัญชา ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการทรวงคนใดคนหนึ่งให้แบ่งส่วนราชการดังนี้

(1) สำนักงานเลขานุการกรม

(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้

กรมใดมีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวง หรือทบวงหรือทบวงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมหรือตามกฏหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น
กรมมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง และในกรณีที่มีกฏหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การอำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
ปัจจุบันมีส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงหรือทบวง มี 9 ส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม คือ สำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
การปฏิบัติราชการแทน อำนาจในการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการใดที่ผู้ดำดงตำแหน่งใดพึงปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ปฏิบัติราชการแทนได้ดังตัวอย่าง

1. นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาจมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้รับมอบจะมอบต่อไปไม่ได้เว้นแต่ผู้ว่าราชการจัวหวัดจะมอบต่อในจังหวัด อำเภอก็ได้

การรักษาราชการแทน ผู้ที่ได้รับอำนาจจะมีอำนาจเต็มตามกฎหมายทุกประการ ตัวอย่าง

1.นายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการไม่ได้ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรักษาราชการแทน

2. ไม่มีปลัดกระทรวงหรือมี แต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองปลัดฯ ข้าราชการไม่ต่ำกว่าอธิบดีรักษาราชการแทน

3. ไม่มีอธิบดีหรือมีแต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองอธิบดี ผู้อำนวยการกองรักษาราชการแทน เป็นต้น

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคหมายถึง หน่วยราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจากการบริหารส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง
ลักษณะการแบ่งอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง การมอบอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไปประจำปฏิบัติงานในภูมิภาค เจ้าหน้าที่ในว่าในภูมิภาคให้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนและงบประมาณซึ่งเป็นผลให้ส่วนภูมิภาคอยู่ใการควบคุมตรวจสอบจากส่วนกลางและส่วนกลางอาจเรียกอำนาจกลับคืนเมื่อใดก็ได้
ดังนั้นในทางวิชาการเห็นว่าการปกครองราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจึงเป็นการปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
จัดแบ่งออกได้ดังนี้
1. จังหวัด เป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ
ในจังหวัดหนึ่ง ๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง และกรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในบรรดาข้าราชการฝ่านบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ อาจจะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย
ผู้ว่าราชการจังหวัด มีคณะปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้นเรียกว่า คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณีและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง และทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้

(1) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้นมีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด

(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ

2. อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง ๆส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้

(1) สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ

(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวงกรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหมายถึง กิจกรรมบางอย่างซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้ท้องถิ่นจัดทำกันเอง เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะโดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งราษฎรในท้องถิ่นเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินงานโดยตรงและมีอิสระในการบริหารงาน
อาจกล่าวได้ว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจ กล่าวคือ เป็นการมอบอำนาจให้ประชาชนปกครองกันเอง เพื่อให้ประชาชนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรู้จักการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นการแบ่งเบาภาระของส่วนกลาง และอาจยังประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนในท้องที่ได้มากกว่า เพราะประชาชนในท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีกว่าผู้อื่น
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีดังนี้

องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาล
สุขาภิบาล
ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ได้แก่ สภาตำบลองค์การบริหารตำบลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดที่อยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดแยกเป็นส่วนต่างหากจากการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในรูปของจังหวัด ในจังหวัดหนึ่งจะมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง
องค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย

สภาจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ดำเนินกิจการส่วนจังหวัด
เทศบาล
เป็นองค์การทางการเมืองที่ดำเนินกิจการอันเป็นผลประโยชน์ของประชาชนในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ การจัดตั้งเทศบาลทำได้โดยการออกพระราชกฤษฎีกายกท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แบ่งเทศบาลออกเป็น
1. เทศบาลตำบล เทศบาลประเภทนี้ไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์การจัดตั้งไว้โดยเฉพาะ แต่อยู่ในดุลยพินิจของรัฐ
2. เทศบาลเมืองได้แก่ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ หนึ่งหมื่น คนขึ้นไป โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
3. เทศบาลนครได้แก่ท้องถิ่นที่มีประชาชนตั้งแต่ ห้าหมื่นคน ขึ้นไป และมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันมีเทศบาลนครเพียงแห่งเดียว คือ เทศบาลนครเชียงใหม่
องค์ประกอบของเทศบาล ประกอบด้วย
1. สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้แทน ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของคณะเทศมนตรี
2. คณะเทศมนตรี ทำหน้าที่บริหารกิจการของเทศบาล มีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า การแต่งตั้งคณะเทศมนตรีกระทำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นคณะเทศมนตรี ด้วยความเห็นชอบของสภาเทศบาล
3. พนักงานเทศบาล เป็นผู้ปฏิบัติงานของเทศบาล โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในงานทั่วไปของเทศบาล
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คือ หน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่นโดยประชาชนมีอำนาจตัดสินใจในการบริหารงานของตำบลตามที่กฏหมายกำหนดไว้
อบต. ประกอบด้วย

1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมี กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านและแพทย์ประจำตำบล ราษฎรหมู่บ้านละ 2 คน

2. คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2 คนเลือกจากสมาชิกองค์การฯอีก 4 คน ประธานกรรมการบริหารและเลขานุการกรรมการบริหาร

อบต. มีหน้าที่ต้องทำในเขตอบต. ดังนี้

(1) ให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก

(2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

(3) ป้องภัยโรคและระงับโรคติดต่อ

(4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

(5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

(6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ

(7) คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ
นอกเหนือจากหลักการโดยทั่วไปของการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปที่กล่าวมาแล้ว รัฐบาลได้จัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเพื่อให้เหมาะสมกับความสำคัญทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนเฉพาะแห่ง ปัจจุบันมีการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ 2 แห่ง คือ

การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
การบริหารราชการเมืองพัทยา
การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครประกอบด้วย

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานคร มีผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร 1 คน และรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ไม่เกิน 4 คน ทั้งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการ กทม. เป็นข้าราชการการเมือง และได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในกรุงเทพมหานคร
สภา กทม. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ควบคุมการบริหารราชการของผู้ว่าราชการ กทม. สภา กทม. ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน โดยถือเกณฑ์จำนวนประชาชน 1 แสนคนต่อสมาชิก 1 คน
ปลัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร
การบริหารราชการเมืองพัทยา
จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 เมืองพัทยามีฐานะเป็นนิติบุคคล ประกอบด้วย
สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน จำนวน 9 คน และสมาชิกจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำนวน 8 คนสภาเมืองพัทยา จะเลือกสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นนายกเมืองพัทยา สภาเมืองพัทยาทำหน้าที่ด้านนโยบายและแผนการดำเนินงาน และควบคุมการปฏิบัติงานประจำของเมืองพัทยา
ปลัดเมืองพัทยามีหน้าที่บริหารกิจการเมืองพัทยาตามนโยบายของสภาเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยามาจากการแต่งตั้งโดยสภาเมืองพัทยาตามที่นายกเมืองพัทยาเสนอผู้ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยาอย่างน้อย 2 คน แต่ไม่เกิน 3 คน


ศาลยุติธรรม (ประเทศไทย)

ศาลยุติธรรม

ศาลยุติธรรม (The Court of Justice) เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น

ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย
ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค
ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด ที่มีอยู่เพียงศาลเดียว
สำนักงานศาลยุติธรรม
สำนักงานศาลยุติธรรม เป็นองค์กรอิสระที่ดูแลงานธุรการของศาลยุติธรรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอิสระในการบริหารงานบุคคลการงบประมาณและการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา
การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน

ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน
2515 ที่บังคับใช้เป็นกฏหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แทนพระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มิได้มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ
เกี่ยวกับการจัดระเบียบราชการบริหารที่ยังคงจัดโครงสร้างหลักของการจัดระเบียบ
การบริหารราชการเป็นส่วนกลาง - ส่วนภูมิภาค - ส่วนท้องถิ่น เช่นเดิมโครง สร้าง
กระทรวง ทบวง กรม ยังคงสภาพเดิมการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการของระบบ
บริหารราชการ จึงยังไม่บังเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน

การจัดระเบียบบริหารราชการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 จึงยัง
ไม่สามารถตอบสนองภารกิจ และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาที่รัฐต้องเผชิญเพิ่ม
มากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพรัฐบาลภายใต้การนำ ของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินความพยายามในการปรับปรุงแก้ไข โดยการแต่งตั้งคณะ
กรรมการปฏิรูประบบและโครงสร้างของส่วนราชการ ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการและ
ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่เกี่ยวเนื่องกัน เพื่อพิจารณาดำเนินการศึกษาและเสนอแนะแนว
ทางในการปฏิรูประบบราชการ ซึ่งคณะกรรมการได้เสนอให้มีการปรับปรุงโครงสร้าง
ของระบบบริหารราชการแผ่นดิน โดยกำหนดความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างราชการ
ส่วนกลาง-ส่วนภูมิภาค-ส่วนท้องถิ่นและเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นตั้งหน่วย
การปกครองท้องถิ่นของตนได้เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนรวมทั้งได้มีการเสนอให้มีการ
ปรับปรุงในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการในแต่ละส่วนด้วย

นอกจากนี้นักวิชาการหลายท่านได้ทำการศึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการ
ปรับปรุงระบบราชการที่น่าสนใจ อาทิเช่น

กระมล ทองธรรมชาติ ศึกษาพบว่ามีปัญหาความซ้ำซ้อนกันภายในโครงสร้าง
ของระบบบริหารราชการระหว่างกระทรวง แม้ภายในกระทรวงเดียวกันหรือกรมเดียว
กันก็มีปัญหา (แม้ว่ารัชกาล ที่ 5 จะทรงปฏิบัติระบบราชการเพื่อขจัดความซ้ำซ้อนใน
ด้านพื้นที่และหน้าที่)

ทั้งนี้ ถ้าจะทำการปฏิรูปต้องปฏิรูปที่โครงสร้างทั้งหมดทั้งโครงสร้างระหว่าง
กระทรวงโครงสร้างภายในกระทรวงและโครงสร้างภายในกรม

เช่นเดียวกับการศึกษาของวรเดช จันทรศร ที่ศึกษาพบว่านับแต่มีการปฏิรูประบบ
ราชการในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2435 เป็นต้นมาระบบราช
การยังไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ทั้งระบบอีกเลย การเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น
เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหน่วยงาน (เพิ่มกรม/กอง) โดยที่ระบบราชการไทย
นั้น มีแนวโน้มที่จะขยายตัวมากขึ้นเพื่อจะสนองตอบต่อผลประโยชน์ของตนเองส่วนหนึ่ง
ในขณะเดียวกันนั้นก็เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศควบคู่กันไปด้วย
จากปี พ.ศ.2476 ซึ่งมีจำนวนกรม 45 กรมขยายเป็น 102กรม ในปี 2512 และมาก
กว่า120 กรมในปี2534 และมีกองถึงกว่า1,300 กองนอกจากนี้การจัดตั้งกรม /กอง
ขึ้นใหม่ มีลักษณะเป็นการตั้งขึ้นใหม่จากหน้าที่ซึ่งมีอยู่แล้วมากกว่าตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่
ใหม่ซึ่งไม่เคยปฏิบัติมาก่อนแต่เป็นงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กรม/กระทรวงอื่น
อยู่ แล้ว งานจึงซ้ำซ้อนกัน

ประเวศ วะศีได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาสำคัญของระบบราชการไทยว่ามีโครงสร้างที่เน้น
การรวบรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางมากเกินไปทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วม
ในการคิดในการดำเนินงานได้ รวมทั้งระบบราชการเน้นในเรื่องการควบคุมงานภายใน
รูปของระเบียบต่าง ๆ มากกว่าหน้าที่ผลงาน จึงควรปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการ
เสียใหม่โดยลดอำนาจข้าราชการและคืนอำนาจตัดสินใจให้ประชาชน

อมรา รักษาสัตย์ และถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์และคณะ ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ
การปรับปรุงระบบของราชการ ด้านการจัดองค์การพบว่า การจัดองค์การราชการก่อให้
เกิดปัญหาสำคัญคือโครงสร้างระบบราชการขาดความยืดหยุ่นไม่สามารถ รับภารกิจรัฐ
บาลในสังคมใหม่ได้โครงสร้างอำนาจการตัดสินใจมีลักษณะรวมอำนาจไว้ในส่วนกลาง
กระทรวงขาดเอกภาพในการบริหารงาน ไม่สามารถผนึกกำลังของกรม เพื่อแก้ปัญหา
หลักของชาติ

ข้อสรุปสำคัญจากการประเมินผลการพัฒนาประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติฉบับที่5 (พ.ศ.2525-2529)ที่กล่าวถึงปัญหาเกี่ยวกับการบริหาร
ราชการ ที่นอกจากจะไม่สนับสนุนการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 6(พ.ศ.2530 - 2534) จึงได้เริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นต้องการปรับปรุงการ
บริหารและทบทวนบทบาทรัฐในการพัฒนาประเทศ

ดังนั้น เมื่อมีการยึดอำนาจจากรัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกชาติชาย
ชุณหะวัน โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.) เมื่อวันที่23 กุมภาพันธ์
2534 จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขประกาศของคณะปฏิวัติในฉบับที่ 218โดยการเสนอ
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534 ใช้บังคับแทนเมื่อวันที่ 5
กันยายน 2534ซึ่งมีเจตนารมย์ที่จะแก้ไขปัญหาสำคัญๆของประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ 218 เดิมใน 4 ประการ ที่สำคัญคือ

1) จำเป็นต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วรนราชการต่าง ๆ ให้ชัดเจน
เพื่อมิให้มีการปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกันระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ

2) เพื่อให้การบริหารงานในระดับกระทรวงมีเอกภาพสามารถดำเนิน
การให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐมนตรีกำหนดได้

3) เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการมอบอำนาจในการปฏิบัติราชการแทนให้
ครบถ้วนชัดเจน เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติราชการ

4) กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการควบคุมดูแลการ
ปฏิบัติราชการของข้าราชการซึ่งปฏิบัติราชการในเขตจังหวัดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

จากเจตนารมณ์ ทั้ง 4 ประการจึงมีบทบัญญัติใน พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการ
แผ่นดิน พ.ศ.2534หลายประการที่เปลี่ยนแปลงไปจากประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่
218 ดังมีสาระสำคัญในแต่ละประเด็นดังนี้

1. การกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรมจากปัญหาเกี่ยวกับการทำงานซ้ำซ้อนกัน
ระหว่างต่างกระทรวงหรือภายในกระทรวงเดียวกันดังที่ได้มีผู้วิจัยและเสนอปัญหาไว้
อาทิเช่นมีหน่วยงานระดับกรมมากกว่ากรมที่ทำงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำหรืองาน
ด้านการจัดการศึกษานอกโรงเรียนก็มีหน่วยงานระดับกรมมากกว่า กรม ที่ดูแลเรื่อง
ดังกล่าว ดังนี้จึงมีบทบัญญัติไว้ดังนี้

"มาตรา 8 การจัดตั้งหรือยุบส่วนราชการ ตามมาตรา 7 ให้เป็นพระราช
บัญญัติ.........................................................................................................................
.....................................................................................................................................

การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักเลขานุการรัฐมนตรีกรมหรือ ส่วนราชการ
ที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้ระบุ
อำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย"

"มาตรา 74 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการภายในสำนักเลขานุการ
รัฐมนตรีและกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเทียบเท่ากับหรือ
มีฐานะเป็นกรมใดยังมิได้ระบุอำนาจหน้าที่ไว้ตามมาตรา 8 วรรคสี่ ให้ดำเนินการ
แก้ไขให้เสร็จสิ้นภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ"

2. การเสริมสร้างเอกภาพในการบริหารงานระดับกระทรวง

ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานระดับกระทรวง ขาดเอกภาพในการบริหารงาน
ไม่สามารถผนึกกำลังของกรมเพื่อแก้ไขปัญหาหลักของชาติ จึงได้มีการปรับปรุง
แก้ไข บทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงและกรมให้เกิดการร่วมมือและ
ผนึกกำลังกันโดยใช้แผนเป็นเครื่องมือทั้งในระดับกระทรวงและกรม ตามบทบัญญัติ
ใน มาตรา 21มาตรา 23 มาตรา 32 ดังนี้

"มาตรา 21 กระทรวงนอกจากมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงและรัฐมนตรีช่วยว่า
การกระทรวงให้มีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(1) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำ ในกระทรวงกำนดแนวทางและแผน
การปฏิบัติราชการของกระทรวงและลำดับความสำคัญของแผนการปฏิบัติราชการ
ประจำปี ของส่วนราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามนโยบาย ที่รัฐมนตรีกำหนด
รวมทั้งกำกับเร่งรัดติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการใน
กระทรวง..................................."

"มาตรา 23 สำนักงานปรัดกระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำ
ทั่วไปของกระทรวง และราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรม
ใดกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงโดยเฉพาะรวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการ
ในกระทรวงให้เป็นไปตามนโยบายแนวทาง และแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง
ด้วย"

"มาตรา 32 ...........................................................................................

กรมมีอธิบดีเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมให้เป็นไปตาม
นโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวงและในกรณีที่มีกฏหมาย
อื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การใช้อำนาจและการปฏิบัติ
หน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติ
และแนวทางและแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงด้วย"

3. การปรับปรุงเรื่องการมอบอำนาจ

เนื่องจากหลักเกณฑ์วิธีการมอบอำนาจที่กำหนดไว้ตาม ปว.218 เดิมมีข้อ
จำกัดเกี่ยวกับวิธีการมอบอำนาจบางกรณีที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐ
มนตรี ก่อนจัดทำเป็นคำสั่ง ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาและไม่สามารถมอบ
อำนาจช่วยต่อไปได้ จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการมอบอำนาจ
ใหม่โดยให้คำนึงถึงการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนความ รวดเร็วในการ
ปฏิบัติราชการ และการกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตำแหน่งของผู้รับ
มอบอำนาจตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในมาตรา 38 มาตรา 39และมาตรา 40
ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลงใหม่ได้แก่

1) การเปลี่ยนแปลงวิธีการมอบอำนาจโดยกำหนดให้การมอบอำนาจทุก
กรณีให้ทำเป็นหนังสือทั้งนี้ผู้มอบอำนาจสามารถมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่ง
ที่กำหนดไว้ในมาตรา38 โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากผู้ใดและไม่ต้องมีการ
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

2) มีการเพิ่มตำแหน่งของผู้มอบอำนาจมากขึ้น โดยกำหนดเรื่องการมอบ
อำนาจของ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง (ในราชการบริหารส่วนกอง) และ
ตำแหน่งหัวหน้า ส่วนราชการประจำจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอผู้เป็นหัว
หน้าประจำกิ่งอำเภอ (ในราชการบริหาร - ส่วนภูมิภาค ) นอกจากนี้ยังกำหนด
ตำแหน่งผู้รับมอบอำนาจ เพิ่มมากขึ้นด้วย

3) กำหนดให้มีการมอบอำนาจช่วงต่อไปได้ กรณีผู้ดำรงตำแหน่งใดได้มอบ
อำนาจให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถมอบอำนาจเรื่องนั้น ๆ
ต่อไปยังรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดได้นอกจากนี้หากได้
รับความเห็นชอบจาก ผู้มอบอำนาจข้างต้นแล้วก็สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่น
ได้

4. การปรับปรุงอำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัด

มีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดใหม่ตามมาตรา57 โดย
กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการส่วนภูมิภาคใน
จังหวัดโดยยกเว้นข้าราชการทหาร ตุลาการ อัยการ ครู ข้าราชการในมหาวิทยาลัย
และ ข้าราชการของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและให้เพิ่มอำนาจหน้าที่ให้ผู้ว่าราช
การจังหวัดเสนองบประมาณต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ตามโครงการหรือแผนพัฒนา
จังหวัดและรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ

นอกจากนี้ยังได้มีการกำหนดให้องค์กรที่ทำหน้าที่ในการเป็นที่ปรึกษาแก่
ผู้ว่าราชการจังหวัดและให้ความเห็นชอบการจัดแผนพัฒนาจังหวัดคือ"คณะกรรม
การจังหวัด" (มาตรา53) ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานรองผู้ว่าราชการ
จังหวัด 1คนปลัดจังหวัดอัยการจังหวัดหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหัวหน้าส่วนราช
การประจำจังหวัดซึ่งเป็นตัวแทนของกระทรวงต่างๆ กระทรวงละ 1 คนเป็นกรรม
การจังหวัดโดยมีหัวหน้า สำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ

หากพิจารณาถึงสาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงตาม ปว.218 เป็น พ.ร.บ.
ระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน 2534อาจสรุปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงใน4ประเด็น
หลักตามเจตนารมย์หลักของพระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงใน
รายละเอียด ปลีกย่อยภายใต้โครงสร้างและกระบวนการบริหารงานดั้งเดิม ตาม
แนวทางที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงวางรากฐานไว้นับแต่
เริ่มปฏิรูปการปกครองนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น